หลักการเลือกซื้อ เครื่องวัดค่าความดันโลหิต มีอะไรบ้าง?

วีดีโอแนะนำการใช้งาน เครื่องวัดความดันโลหิตฟิกเซอร์
“พูดภาษาไทยได้”

ฟิกเซอร์ เครื่องวัดความดันโลหิต

รายงานค่าความดันตามองค์การอนามัยโลก (WHO)

“เป็นเสียงพูดภาษาไทย”

“ด้วยประชากรไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นทุกปีและความต้องการในการใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต มีเพิ่มมากขึ้น”

    ดังนั้น หากคุณมีผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างใกล้ชิด อย่าง เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อ โรคความดันสูง จะช่วยให้การวัดความดันของคุณเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะใช้ที่บ้าน หรือ พกพาเคลื่อนที่ พร้อมคุณสมบัติที่ทันสมัย … ซึ่งเราได้เรียบเรียงข้อมูล เครื่องวัดความดัน แบรนด์ดังต่างๆ มาให้คุณได้ตัดสินใจในการเลือกซื้อแล้ว ดังนี้………”

พร้อม 9 ฟังก์ชั่นเด่น

ที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ตัดปัญหาความกังวลในการอ่านค่าแถบความดันด้วยตนเองด้วยเสียง “พูดภาษาไทย” พร้อมเสียงดนตรีขณะรอฟังผล  

2. ได้รับเครื่องหมาย CE0123 และ ISO13485 การันตีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

3. มีระบบตรวจเช็คหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ด้วยการแสดงผลหน้าจอเป็นสัญลักษณ์รูปหัวใจ เมื่อพบว่าหัวใจมีอัตราการเต้นผิดจังหวะ

4. บันทึกค่าผู้ใช้งานได้ 2 คน  คนละ 120 ค่า พร้อมเรียกดูหน่วยความจำย้อนหลังได้

5. บอกค่าเฉลี่ยที่วัดได้ 3 ครั้งล่าสุดที่วัดได้

6. บอกตำแหน่งผ้าพันแขนที่ถูกต้อง เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการวัดค่าความดันโลหิต

7. หน้าจอ LCD ใหญ่ คมชัด ขนาด กว้าง 2.52 นิ้ว * สูง 3.74 นิ้ว

8. ผ้าพันแขนขนาด 22-40 เซนติเมตร ใช้ได้ทั้งแขนเด็กและแขนผู้ใหญ่

9. แบตเตอรี่ใช้ได้ทั้งถ่านและอะแดปเตอร์ ถ่านขนาด AAA / 4 ก้อน และสายอะแด็ปเตอร์ USB (ใช้ร่วมกับสายชาร์จโทรศัพท์ได้)

เครื่องวัดความดันโลหิต
รุ่น HEM-7130 มีดีอะไร?

√ เครื่องวัดความดันโลหิตomron รุ่น HEM-7130 ใช้วัดความดันโลหิตสูง ได้อัตโนมัติ ใช้งานง่าย
√ มีสัญลักษณ์แสดงให้ผู้ใช้ทราบ เมื่อมีการใช้ผ้าพันแขนถูกต้อง
√ มีสัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัดความดัน
√ มีสัญลักษณ์แสดงการเต้นของหัวใจเมื่อผิดปกติ
√ มีค่าเฉลี่ย 3 ครั้งที่วัดได้ ภายใน 10 นาที
√ มีหน่วยความจำ 60 หน่วยความจำ พร้อมวันและเวลาบอกปรากฏยังหน้าจอ
√ มีคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้งาน
เพื่อความปลอดภัยต่อคุณ และ คนที่คุณรัก
√ มีแถบบอกค่าระดับความดันโลหิต
√ หน้าจอใหญ่ คมชัด
√ เครื่องเล็ก กะทัดรัด ใช้งานได้ทั้งในบ้านและพกพาเคลื่อนที่

ข้อมูลเชิงเทคนิค เครื่องวัดความดันโลหิตomron รุ่น HEM-7130

√ จอแสดงผล: จอดิจิตอล LCD คมชัด

√ วิธีการวัดความดัน: วิธี Oscillometric

√ ช่วงที่วัดได้: 0-299 มม. ปรอท, ชีพจร 40-180 ครั้ง/นาที

√ ความแม่นยำ: ความดัน 3 มม. ปรอท, ชีพจร ± 5% ของค่าที่วัดได้

√ หน่วยความจำ: 60 ค่า พร้อมวันที่และเวลา

√ พลังงานไฟฟ้า: DC6V 4 W, ถ่าน AA 1.5 V 4 ก้อน หรือที่ชาร์จไฟ AC Adapter

√ อายุการใช้งานของถ่าน: ใช้วัดผลได้ประมาณ 1,000 ครั้ง

√ น้ำหนักเครื่อง: 280 กรัม (ไม่รวมถ่าน)

√ น้ำหนักผ้าพันแขน: 130 กรัม

√ ขนาด: 107x79x141 มม. (กว้างxสูงxลึก)

√ ขนาดผ้าพันแขน: เส้นรอบวงแขน 22-32 ซม.

√ วัสดุผ้าพันแขน: ไนล่อน และ โพลีเอสเตอร์

√ สิ่งที่บรรจุในกล่องผลิตภัณฑ์: เครื่องวัดความดันโลหิต ผ้าพันแขน คู่มือการใช้งาน แบตเตอรี่ 1 ชุด และกระเป๋าเก็บอุปกรณ์

√ รับประกัน 5  ปี

ทำไมต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิต?

“ภาวะ ความดันโลหิตสูง” มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล หรือ การตรวจด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง

การตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูง และรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ บุคคลทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ความถี่ในการตรวจวัดความดันที่เหมาะสมตามช่วงอายุ มีดังนี้

– ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
– ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูง เช่น มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีความดันโลหิตในระดับปกติถึงระดับสูงอยู่ที่ 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท ควรตรวจวัดความดันโลหิต 1 ครั้งต่อปี
– ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18-39 ปีที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอทที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นใด ควรได้รับการตรวจความดันโลหิตทุก 3-5 ปี

ทั้งนี้แพทย์อาจแนะนำให้รับการตรวจบ่อยกว่าข้างต้นได้ ขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิตและสุขภาพที่แตกต่างกันของคนไข้แต่ละราย หรือหากรู้สึกกังวลเกี่ยวกับระดับความดันโลหิตของตนเองก็สามารถไปรับการตรวจได้ทุกเมื่อ ซึ่งสถานที่ที่ให้บริการตรวจความดันโลหิต ได้แก่ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุกประเภท รวมถึงร้านขายยาบางแห่ง หรือสามารถซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต มาตรวจเองที่บ้านก็สามารถทำได้ ทั้งยังเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะ ความดันโลหิตสูง ให้สามารถตรวจค่าความดันได้ทุกที่ ทุกเวลาตามต้องการ นอกจากนี้ เครื่องวัดความดันโลหิต ในปัจจุบัน ยังมีให้เลือก หลายรุ่น หลายดีไซน์ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สำคัญ ฟาซิแคร์ ของเรา ยังมีเครื่องวัดความดันราคา ถูก พร้อมให้ท่านเลือกซื้อ เลือกช้อป เพื่อสุขภาพของคุณ หรือคนที่คุณรัก ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงคลิกที่ลิงค์นี้ → Fasicare.com

หลักการเลือกซื้อ เครื่องวัดค่าความดันโลหิต มาใช้งานเอง

    ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล หรือ การตรวจด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต ด้วยตนเอง

“การวัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำจะช่วยตรวจเช็คสภาพร่างกายและแจ้งเตือนได้เมื่อร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งคุณนั้นสามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่สิ่งสำคัญคือ การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้คุณภาพ ซึ่งเรามีข้อแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อมาฝาก” ดังนี้

√ เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต แบบอัตโนมัติหรือแบบดิจิตอล เนื่องจากเราไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นอาจมีความรู้หรือทักษะไม่มากพอในการใช้งานเครื่องวัดความดันแบบปรอทได้ เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและใช้งานได้ง่าย จึงควรเลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต แบบอัตโนมัติจะดีที่สุด โดยเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัตินั้นจะแบ่งออกเป็นเครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ซึ่งจะได้ค่าความดันโลหิตที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไม่ค่อยสะดวกต่อการพกพา และเครื่องวัดความดันที่ข้อมือ เป็นเครื่องวัดที่ใช้งานสะดวกเพราะมีระบบสูบลมและคลายลมอัตโนมัติ ใช้งานง่าย มีขนาดกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก แต่เวลาที่ทำการวัดก็ต้องวางข้อมือให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับหัวใจเพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

√  เลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีแรงดันไฟต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มีความเสถียร เพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่เที่ยงตรง ไม่คลาดเคลื่อน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตัวผู้วัดได้ ดังนั้นทางที่ดีให้เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต ที่ใช้ถ่านไฟที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างถ่านอัลคาไลน์ 5 โวลต์ดีกว่าการเลือกใช้ถ่านราคาถูกทั่ว ๆ ไปซึ่งอาจมีกำลังไฟไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามหากมีการใช้งานอยู่บ่อย ๆ เพื่อความมั่นใจอาจเลือกเป็นแบบที่มีสายอะแดปเตอร์ให้ชาร์จไฟไปเลยก็ได้

√  เลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพื่อรับประกันคุณภาพของเครื่องวัดความดันนั้น ๆ โดยให้มองหาสัญลักษณ์ CE (European Conformity: CE) หรือสัญลักษณ์ UL (Underwriters’ Laboratories: UL) เหล่านี้คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเครื่องมือวัดความดันโลหิตนั้น ๆ ได้รับการออกแบบและมีการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรปนั่นเอง หรือจะมองหาเครื่องหมาย มอก. ตามมาตรฐานของประเทศไทยก็ได้เช่นกัน

ค่าที่ปรากฏบนหน้าจอบอกอะไรบ้าง?

ค่าระดับความดันโลหิตที่ได้มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยจะแสดงเป็น 2 ตัวเลข คือ

√ ตัวเลขบน เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) เป็นความดันสูงสุด ในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
√ ตัวเลขล่าง เรียกว่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure) เป็นความดันต่ำสุด ในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัวระหว่างพักจากการสูบฉีดเลือด
ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตทั้ง 2 ตัวเลขต่างมีความสำคัญ หากตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งที่สูงเกินไปอาจหมายถึงการมีภาวะ ความดันโลหิตสูง แต่โดยทั่วไปแพทย์จะให้ความสนใจกับตัวเลขบนมากกว่า เพราะการมีค่าความดันซิสโตลิกสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ค่าความดันตัวบนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เนื่องจากความฝืดและพองตัวของหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการสะสมของคราบหินปูนเป็นเวลานาน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้น

ผลการวัดความดันโลหิต บ่งบอกสุขภาพคุณ…

ระดับความดันโลหิตปกติจะมีค่าตัวเลขบน (ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก) ไม่เกินกว่า 120 และมีค่าตัวเลขล่าง (ความดันโลหิตไดแอสโตลิก) ไม่เกินกว่า 80 เขียนเป็น 120/80 มิลลิเมตรปรอท ส่วนระดับความดันผิดปกตินั้นสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่
 ภาวะความดันโลหิตต่ำคือมีความดันโลหิตในช่วงต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยภาวะนี้อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือเกิดภาวะช็อกได้ ทั้งนี้บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำแต่ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ในทางการแพทย์จะยังจัดว่าสุขภาพเป็นปกติดีและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
ระยะเริ่มต้นภาวะ ความดันโลหิตสูง ผู้ที่อยู่ในระยะนี้จะมีความดันโลหิตอยู่ที่ประมาณตั้งแต่ 120-139 และ/หรือ 80-89 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ต่อไป
ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 1 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159 และ/หรือ 90-99 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาจต้องรับประทานยาปรับค่าความดันโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 2 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 160-179 และ/หรือ 100-109 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยควรได้รับยาลดความดันโลหิตร่วมกับการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยจะมีระดับความดันโลหิตที่ 180/110 ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ปวดหลัง รู้สึกอ่อนแรงหรือชาตามร่างกาย มีความผิดปกติด้านการมองเห็น หรือพูดคุยลำบาก แต่หากไม่มีอาการใด ๆ ดังกล่าว ให้รอประมาณ 5 นาที และวัดความดันใหม่อีกครั้ง หากยังได้ค่าความดันสูงเท่าเดิม ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

เอกสารอ้างอิง:
https://www.pobpad.com/วัดความดันโลหิตอย่างไร
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/174