“เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า” เคล็ดลับลดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

แผลกดทับ (Pressure Injury) เป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ เพราะผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานเกินไป จนเกิดเป็นรอยแดง ช้ำ และกลายเป็นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย

แต่รู้หรือไม่!? บาดแผลเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย “เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า” อุปกรณ์ All in one ที่เป็นเพื่อนรู้ใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล

รู้จักแผลกดทับศัตรูร้ายของผู้ป่วยติดเตียง

แผลกดทับ หมายถึง การที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณเหนือปุ่มกระดูก หรือบริเวณที่สัมผัสกับการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ถูกทำลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วลักษณะของแผลจะไม่ฉีกขาด และมักจะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยติดเตียงยิ่งได้รับความทรมานมากยิ่งขึ้น เพราะต้องเจ็บปวดกับทั้งอาการของโรคเดิม และมาเจ็บปวดเพิ่มจากแผลกดทับ

อย่างไรก็ตาม แผลกดทับมีหลายประเภท หากเป็นระดับเริ่มต้น ความเจ็บปวดก็จะมีเพียงเล็กน้อย และสามารถรักษาให้หายได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นประเภทรุนแรงก็ต้องใช้เวลารักษานานขึ้น โดยสามารถแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  • แผลกดทับระดับ 1 เป็นระดับไม่รุนแรง จะเกิดรอยแดงเฉพาะจุด ผิวหนังไม่ฉีกขาด ระบบรับความรู้สึกอาจเปลี่ยนแปลงไป และอาจมีอาการผิวหนังแข็งตัวร่วมด้วย
  • แผลกดทับระดับ 2 ผิวหนังชั้นนอกในบางส่วนจะเริ่มลอกออกจนมองเห็นชั้นหนังแท้ แผลเริ่มมีสีชมพูแซมแดง มีสารคัดหลั่งออกมาสร้างความเปียกชื้นให้แผล หรืออาจพบตุ่มน้ำใสบริเวณแผล
  • แผลกดทับระดับ 3 ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมด มองเห็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งในแผลจะมีเนื้อเยื่อใหม่สีแดง และอาจพบเนื้อตายเปื่อยยุ่ย หรือเนื้อตายแห้งแข็งได้
  • แผลกดทับระดับ 4 เป็นระดับความรุนแรงสูงสุด เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมด และชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง จนมองเห็นหรือสามารถสัมผัสชั้นเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกอ่อน หรือกระดูกในบริเวณพื้นแผลได้ และอาจพบเนื้อตายเปื่อยยุ่ย และ/หรือเนื้อตายแห้งแข็งร่วมด้วย

นับว่าเป็นรอยโรคที่มีความรุนแรงกว่าที่หลายคนเคยคาดคิด เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน จนสุขภาพทรุดโทรมลงไปอีก ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ ควรมองหาตัวช่วยดีๆ อย่าง “เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าช่วยลดแผลกดทับได้อย่างไร

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้า จึงช่วยทุ่นแรงงานคนได้เป็นอย่างดี และมีคุณสมบัติที่เป็นได้มากกว่าเตียงนอนทั่วไป เพราะสามารถเป็นตัวช่วยพลิกตัวให้ผู้ป่วยเกิดการเคลื่อนไหว ไม่อยู่ท่าเดิมนานเกินไป และยังช่วยทุ่นแรงให้พยาบาล หรือผู้ดูแล ไม่ต้องออกแรงมากเกินไปจนเสี่ยงบาดเจ็บ เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจมีน้ำหนักตัวมาก ยากต่อการช่วยพลิกตัว หรือขยับร่างกาย

ซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ไหนดี

สำหรับใครที่สนใจอยากมีเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไว้ใช้ในครอบครัว แต่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อจากที่ไหนดี ขอแนะนำเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของ “ฟาซิแคร์” ศูนย์รวมอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุชั้นนำ ที่มีเตียงผู้ป่วยให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแล มาพร้อมฟังก์ชันน่าสนใจมากมาย เช่น ปรับระดับความสูง-ต่ำ ได้ตามต้องการ ปรับพนักพิงหลัง-ปรับชันเข่า เป็นต้น โดยรองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้สูงสุดถึง 250 กิโลกรัม

แม้ว่าผู้ป่วยติดเตียงจะมีโรคประจำตัว และมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว แต่ถ้าเราช่วยกันดูแลให้เขาได้ขยับตัวอยู่บ่อยๆ และห่างไกลจากการเป็นแผลกดทับ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยอายุยืนยาว และมีสุขภาพกายใจร่าเริงแจ่มใสในทุกๆ วัน

ขอแนะนำเตียงสำหรับผู้ป่วยคุณภาพดี ได้มาตรฐานจากฟาซิแคร์

ฟาซิแคร์ขอส่งผ่านความห่วงใยแก่คนที่คุณรักด้วยอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยที่คุณภาพดี และ มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการลูกค้า ในราคาที่จับต้องได้ นอกจากนี้ยังมีบริการเช่าเตียง เพื่อความสะดวกต่อผู้ป่วยและผู้ดูแลที่มีงบจำกัด ลูกค้ามั่นใจได้ในการบริการของเรา ได้เพราะสินค้าของเรามีมาตรฐานระดับสากล และการรับประกันคุณภาพสินค้าที่เหมาะสมรวมถึงบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม