การเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยแบบไฟฟ้าสักคัน ถือว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญสำหรับคุณหรือคนที่คุณรัก เพราะนอกเหนือจากการเป็นพาหนะสำหรับใช้งานแล้ว ยังเป็นตัวช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้นอีกด้วย แต่ด้วยตัวเลือกที่หลากหลายในตลาด ทำให้การตัดสินใจอาจเป็นเรื่องยาก วันนี้ฟาซิแคร์จะมาเจาะลึก 6 ข้อควรพิจารณา เพื่อให้คุณได้รถเข็นที่ตรงใจที่สุด รับรองเลยว่า ถ้าคุณได้อ่านบทความนี้ คุณจะสามารถเลือกรถเข็นผู้ป่วยแบบไฟฟ้าที่ตอบโจทย์และใช้งานได้อย่างยาวนานแน่นอน
การตัดสินใจซื้อวีลแชร์แบบไฟฟ้า มีอะไรบ้าง
การตัดสินใจซื้อวีลแชร์แบบไฟฟ้า มีดังนี้
- การใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้งานในบ้าน หรือนอกบ้าน ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับใช้งานจริง
- ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีความจุเพียงพอสำหรับการใช้งาน เช่น หากใช้ระยะทางไกล ควรเลือกปริมาณแบตฯที่เยอะ และระยะเวลาชาร์จสั้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
- ควรเลือกระบบควบคุมที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้สะดวก เช่น ควบคุมด้วย Joystick หรือปุ่มควบคุมอื่น ๆ
- วีลแชร์แบบไฟฟ้าที่มาพร้อมกับฟังก์ชันเสริม เช่น การปรับเอนนั่ง ระบบกันสะเทือน หรือที่วางแขนและขาที่สามารถปรับได้
- วีลแชร์แบบไฟฟ้าควรมีระบบเบรกที่ดีและสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยในทุกสถานการณ์
- การบำรุงรักษาและการรับประกัน ควรเลือกวีลแชร์แบบไฟฟ้าที่สามารถทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือ ควรตรวจสอบว่ามีการรับประกันตัวเครื่องหรือแบตเตอรี่ และมีบริการหลังการขายที่ครอบคลุม รวมถึงมีศูนย์บริการในพื้นที่ที่สะดวกต่อการซ่อมบำรุง
แล้วแต่จะคิด ชีวิตคนละสไตล์ เลือกวีลแชร์แบบไฟฟ้า แบบไหนถึงจะดี
การเลือกวีลแชร์แบบไฟฟ้า ควรเลือกตามไลฟ์สไตล์ส่วนตัว โดยหลัก ๆ สามารถแบ่งได้เป็น
เน้นการใช้งานในอาคาร
เน้นการใช้งานในอาคาร รถเข็นแบบปรับเอนและหมุนได้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตในที่แคบหรือในบ้านที่ต้องการความคล่องตัวสูง รถเข็นที่สามารถหมุนได้รอบทิศทางและปรับเอนนั่งเอนนอนได้จะช่วยให้การเคลื่อนไหวในพื้นที่จำกัดเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
เน้นการใช้งานกลางแจ้ง
เน้นการใช้งานกลางแจ้ง ใช้งานนอกบ้าน หากผู้ใช้งานต้องการใช้รถเข็นสำหรับกิจกรรมนอกบ้าน เช่น เดินทางไปตลาด สวนสาธารณะ หรือการเดินทางท่องเที่ยว ควรเลือกรถเข็นไฟฟ้าที่มีล้อขนาดใหญ่และมอเตอร์ที่แข็งแรง สามารถใช้งานได้นานและมีการชาร์จที่รวดเร็วสามารถขับขี่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบได้ เช่น ถนนขรุขระหรือทางเดินหินกรวด
นอกจากนี้ต้องเป็นรถเข็นที่สามารถพับเก็บและประกอบได้อย่างรวดเร็ว มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายขึ้นรถ และข้อสำคัญ รถเข็นที่มีระบบกันสะเทือนจะช่วยลดแรงกระแทกเมื่อใช้งานในพื้นที่ที่ไม่เรียบ ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายและปลอดภัยขณะเดินทาง
วีลแชร์ผู้ป่วยไฟฟ้าที่ดี ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
วีลแชร์ผู้ป่วยไฟฟ้าที่ดี ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
การรองรับสรีระ
1.ที่นั่งและพนักพิง
- ขนาดของที่นั่ง ควรเลือกขนาดที่นั่งที่พอดีกับผู้ใช้งาน ไม่กว้างหรือแคบเกินไป โดยที่นั่งควรรองรับสะโพกได้อย่างเต็มที่และมีพื้นที่เพียงพอให้เคลื่อนไหว
- ความสูงของพนักพิงพนักพิงควรมีความสูงที่เหมาะสมเพื่อรองรับหลังส่วนล่างและส่วนบน บางรุ่นอาจมีพนักพิงที่สามารถปรับเอนได้ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลัง
- วัสดุของเบาะที่นั่ง เบาะที่นั่งควรทำจากวัสดุที่นุ่มสบายและช่วยกระจายแรงกดบนร่างกายอย่างเท่าเทียม บางรุ่นอาจมีเบาะที่รองรับการระบายอากาศเพื่อลดการอับชื้นหรือการเกิดแผลกดทับ
2. ที่วางแขนและขา
- ที่วางแขนควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วยรองรับน้ำหนักแขนอย่างสบาย ไม่สูงหรือต่ำเกินไป และควรมีความนุ่มเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการวางแขนเป็นเวลานาน
- ที่วางขาควรมีการปรับระดับได้และรองรับน้ำหนักของขาได้ดี เพื่อลดความเครียดที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อขา บางรุ่นอาจมีที่วางขาที่สามารถยกขึ้นลงหรือปรับมุมได้ตามต้องการ
3. รองรับน้ำหนักและสมดุล
- รถวีลแชร์ผู้ป่วยไฟฟ้าต้องสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ควรตรวจสอบขีดจำกัดการรับน้ำหนักของรถเข็นเพื่อป้องกันการเสียหายและความไม่ปลอดภัย
- รถวีลแชร์ผู้ป่วยไฟฟ้าควรมีโครงสร้างที่สามารถกระจายน้ำหนักได้อย่างสมดุล ไม่ทำให้เกิดแรงกดเฉพาะจุดที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือบาดเจ็บ
สามารถปรับแต่งได้
- รถวีลแชร์ผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถปรับท่านั่งได้หลายระดับจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนท่านั่งตามความต้องการ ลดการกดทับในจุดเดียวกันนาน ๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับหรืออาการปวดเมื่อย
- การปรับความสูงของที่นั่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับท่าทางได้ตามกิจกรรม เช่น การลุกขึ้นยืน หรือการเข้าถึงสิ่งของบนโต๊ะ
การปรับระดับพื้นฐานต่าง ๆ
- พนักพิงหลังที่สามารถปรับเอนจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเอนหลังพักผ่อนได้ตามต้องการ การปรับเอนหลังจะช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลังและสะโพก ทำให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน
- การปรับที่วางเท้าสามารถปรับขึ้นลงหรือปรับมุมได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางเท้าในท่าที่สบาย ลดความตึงเครียดที่ขาและข้อต่อ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดบาดเจ็บหรือปวดเมื่อยที่เกิดจากการวางขาในท่าที่ไม่เหมาะสม บางรุ่นอาจสามารถปรับมุมที่วางขาได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถยืดหรือหดขาตามความสะดวก
- การปรับทิศทางและการหมุนของล้อ สามารถหมุนได้ 360 องศา ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวในพื้นที่จำกัด โดยการปรับทิศทางนี้ช่วยให้การเลี้ยวหรือการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลังเป็นไปอย่างราบรื่น
- การปรับตำแหน่งการควบคุมบังคับ (Joystick) ตำแหน่งของคันบังคับหรือแผงควบคุมสามารถปรับให้เข้ากับมือหรือแขนของผู้ใช้งาน เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัว
- การปรับโหมดการเคลื่อนที่รถเข็นผู้ป่วยแบบไฟฟ้ามีโหมดการเคลื่อนที่ที่สามารถปรับระดับความเร็วได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกความเร็วที่เหมาะสมตามสภาพแวดล้อม เช่น ความเร็วต่ำสำหรับพื้นที่แคบ หรือความเร็วสูงสำหรับการเคลื่อนที่ระยะทางไกล
ความเร็วในการตอบสนองต่อคำสั่ง
Joystick ความเร็วในการตอบสนองของคันบังคับเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการควบคุมรถเข็นไฟฟ้า คันบังคับที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนทิศทางหรือหยุดรถเข็นได้อย่างรวดเร็วปุ่มเปิด-ปิด, จอแสดงผลพลังงาน, จอยควบคุม, แตร , สามารถปรับระดับ ความเร็วได้ 5 ระดับ
เมื่อระบบขัดข้อง ยังมีความปลอดภัยอยู่
- รถเข็นแบบไฟฟ้าบางรุ่นมาพร้อมกับระบบเบรกอัตโนมัติที่ทำงานเมื่อเกิดปัญหาหรือเมื่อระบบควบคุมขัดข้อง เบรกจะทำงานเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของรถเข็นทันที
- มีล้อกันหงายด้านหลัง จำนวน 2 ล้อ สามารถขึ้นเนินได้ 25°C
- สายไฟต่าง ๆ ได้ถูกหุ้มด้วยเปลือกกันฉนวน ทำหน้าที่ป้องกันสายไฟฟ้าทั้งจากการติดตั้งสายไฟฟ้าและจากสภาพแวดล้อมที่สายไฟฟ้าติดตั้งใช้งานอยู่ เช่น ไฟช็อต การเสียดสีและขูดขีดจากการดึงหรือลากสายไฟ การกระแทก กดทับ เป็นต้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
แบตเตอรี่
- แบตเตอรี่แบบลิเธียม (lithium battery) อายุการใช้งาน 2 ปี
- แบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) อายุการใช้งาน 4-5 ปี
ความจุ
- แบตเตอรี่ 6AH
- แบตเตอรี่ 24V 12AH
ความเร็วในการชาร์จ
- ชาร์ตแบตเตอรี่ก่อนใช้งาน 6-8 ชั่วโมง
ความทนทานและการดูแลรักษาวีลแชร์แบบไฟฟ้า
ความทนทานและการดูแลรักษาวีลแชร์แบบไฟฟ้า สามารถทำได้ ดังนี้
ตรวจสอบและทำความสะอาด
- ตรวจสอบทุกวันก่อนการใช้งานทุกครั้ง ควรตรวจสอบสภาพทั่วไปของรถเข็น เช่น ล้อ, เบรก, คันบังคับ, และไฟสัญญาณ
- ทำความสะอาดใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเบาะ, พื้นผิวภายนอก และส่วนที่ต้องสัมผัสมือเพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรก
การตรวจสอบแบตเตอรี่
- ตรวจสอบระดับการชาร์จของแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ และชาร์จแบตเตอรี่เมื่อระดับการชาร์จต่ำ
การตรวจสอบระบบไฟฟ้า
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อ : ตรวจสอบการเชื่อมต่อของสายไฟและสายเคเบิล เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการหลุดหรือเสียหาย
- ตรวจสอบฟังก์ชันการทำงาน : ตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานของระบบควบคุม เช่น คันบังคับ, ระบบไฟ, และปุ่มต่าง ๆ
การเก็บรักษา
การเก็บรักษา เก็บในที่แห้งและเย็น เมื่อไม่ได้ใช้งาน ควรเก็บรถเข็นในที่แห้งและเย็น เพื่อป้องกันการเสียหายจากสภาพอากาศหรือความชื้น
ราคาและประกันสินค้า
ฟาซิแคร์พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อวีลแชร์แบบไฟฟ้าที่ถูกใจ
รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า วีลแชร์แบบไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการเดินทางสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดิน ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ขาดความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องออกแรงเข็น เพราะรถเข็นไฟฟ้าจะมี Joystick ในการบังคับทิศทางและการเคลื่อนที่ไปในตำแหน่งที่ต้องการ ทั้งยังปรับเปลี่ยนเป็นระบบแมนนวล โดยมีผู้ช่วยเข็นได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้พิการให้ดียิ่งขึ้น ฟาซิแคร์พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำวีลแชร์แบบไฟฟ้าที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้