วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรรู้กับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรรู้กับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 ปัจจุบันโลกมีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเดินทาง การท่องเที่ยว การทำงาน การดูแลผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งการอยู่บ้าน ทำงานบ้าน ก็มีสิ่งที่อำนวยความสะดวกมากมายอยู่รอบตัว ตอนนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนผู้สูงอายุมีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น รถเข็นไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น เรื่องของการเดิน เคลื่อนไหวก็จะเริ่มช้าลง หรือไม่มั่นคงเช่นเดิม ซึ่งการมีรถเข็นไฟฟ้านอกจากจะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุแล้ว ยังเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อผู้ป่วย ผู้พิการ รวมถึงคนที่มีอายุครรภ์สูงๆ หรือใช้กับทุกคนที่มีปัญหาในด้านการเดินและการทรงตัว

สำหรับผู้สูงอายุ โรคที่พบได้บ่อยในอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากผู้สูงอายุแล้วยังรวมถึงผู้ป่วย ดังนี้ โรคเครียด โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ และผู้ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอลล์ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน ซึ่งการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก จนไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการทางระบบปะสาทและระบบสมอง ทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดอาการอ่อนแรงบางส่วนหรือขยับร่างกายไม่ได้เลยทั้งร่างกาย รวมถึงอาจจะมีอาการชา พูดจาไม่รู้เรื่อง หรือมีปัญหาในด้านการกลืน และการหมดสติ

โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยมีอาการ จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดภายใน 3-6 ชั่วโมง ยิ่งถึงมือแพทย์เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสในการรักษาหรือเยียวยาได้สูง โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบหรือแตกได้ ด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์อัมพาต บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถที่จะช่วยเหลือและดูแลตนเองได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาอ่อนแรงครึ่งซีก ทำให้หยิบจับสิงของ และเคลื่อนไหวได้ลำบาก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการบำบัดก่อนออกจากโรงพยาบาล และมีการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้น ร่วมกับการใช้อุปกรณ์เสริม อย่างเช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน และรถเข็นผู้ป่วย สำหรับญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ใกล้ชิดก็จะต้องคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ
  การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ต้องมีกาฟื้นฟูทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านร่างกาย ซึ่งทางด้านร่างกายนั้นสามารถทำได้โดยกาทำกายภาพบำบัด รวมถึงการเปลี่ยนท่าทางสำหรับผู้ป่วย สำหรับบทความนี้จะแนะนำบทบาทของญาติหรือผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยโรคเลือดเลือดสมองหรือผู้ป่วยอัมพฤหษ์อัมพาต และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มาลองดูกันว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับวิธีการดูแลจะเป็นอย่างไรบ้าง

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

  1. คอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การแปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ การขับถ่าย การทานอาหาร และแต่งตัว โดยผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย
  2. คอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรงเท่าที่จะสามารถทำได้ หากร่างกายผู้ป่วยด้านไหนที่อ่อนแรง ต้องพยายามหากิจกรรมที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ฝึกใช้แรงในข้างนั้นบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของร่างกาย
  3. คอยให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ หากช่วงที่ผู้ป่วยพึ่งออกจากโรงพยาบาล หรือพึ่งเริ่มฝึกการดูแลตนเอง ผู้ดูแลหรือญาติต้องคอยให้ความช่วยเหลือในบางกิจกรรม จนกว่าผู้ป่วยจะสามารถทำได้เอง
  4. ผู้ดูแลหรือญาติ ต้องคอยให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเองอยู่เสมอ
  5. ช่วยทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด
  6. คอยเตือนและจัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยรับระทานยาตามจำนวนที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน
  7. คอยดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาาะการรับประทานอาหาร สำหรัลบางกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของการกลืนลำบาก การสำลัก ประเภทของอาหารต้องมีความเหมาะสมกับโรคประจำตัว รวมถึงการพักผ่อน และการพบแพทย์ตามนัด
  8. คอยดูแลเรื่องภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้ป่วยต้องระวังปัญหาการบวมของแขน ขา มือ และเท้า แก้ไขเบื้องต้นโดยการใช้ผ้าห่ม หมอน หนุนรองข้างที่บวมให้สูง รวมถึงการป้องกันการเกิดแผลกดทับ กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ ต้องคอยเปลี่ยนอิริยาบถ โดยพลิกนอนตะแคงผู้ป่วยบ่อยๆ ระมัดระวังบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยแดงและปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น สะโพก ก้นกบ ไม่ให้เกิดแผลกดทับ

ลำดับถัดมาหลังจากการรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นอย่างไรบ้าง มาลองดูการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกันบ้างว่าจะมีวิธีการอย่างไร ทั้งนี้การต้องอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของนักกายภาพบำบัด ญาติ และผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะมั่นใจว่าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้เองการเคลื่อนย้ายจากเตียงผู้ป่วยไปยังรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า

  1. จัดวางรถเข็นทำมุม 45 องศากับเตียง โดยให้รถเข็นอยู่ทางด้านแขนและขาข้างที่ดี หลังจากนั้นให้ล็อครถเข็น นำที่วางเท้าทั้งสองข้างขึ้น
  2. โน้มตัวมาด้านหน้า ใช้มือข้างที่ดีเอื้อมไปจับที่วางแขนของรถเข็นด้านนอก ดันตัวลุกขึ้นยืนให้น้ำหนักอยู่บนขาข้างที่ดี
  3. ค่อยๆ หมุนตัว พร้อมกับโน้มตัวนั่งที่รถเข็น

การเคลื่อนย้ายจากรถเข็นผู้ป่วยไปยังเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

  1. จัดวางรถเข็นทำมุม 45 องศากับเตียง โดยให้แขนแลละขาข้างที่ดีอยู่ชิดกับขอบเตียง ล็อครถเข็น หลังจากนั้นนำที่วางเท้าทั้งสองข้างขึ้น
  2. ยกมือข้างที่ดีวางไว้บนเตียง และขยับเลื่อนตัวมาด้านหน้า เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น
  3. โน้มตัวไปด้านหน้า ลงน้ำหนักที่มือข้างดีและเท้าทั้งสองข้างพร้อมกับลุกขึ้นยืน และหมุนตัวลงบนเตียง

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์อัมพาตนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับการดูแลคนเรารัก หากใครมีผู้ป่วยที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากวิธีการต่างๆ ที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว การที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือดีๆ มีคุณภาพ ก็จะเป็นตัวช่วยในการดูแลผู้ป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน Fasicare ศูนย์รวมสินค้าทั้งรถเข็นไฟฟ้า รถเข็นผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า พร้อมให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ทุกคน นอกจากนี้ยังมีโชว์รูมให้ทดลองใช้สินค้า มีทีมขนส่งและบริการหลังการขายที่ครบครัน เพื่อช่วยคุณดูแลคนที่คุณรัก

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://fasicare.com
Telephone: 086-3002582
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare

E-mail: fasicareshop@gmail.com
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop