วิธีอ่านค่าจากเครื่องวัดความดันโลหิต
ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตบอกสุขภาพเบื้องต้นมากมาย
เคยได้ยินไหมสุภาษิตที่ว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” เพราะใครๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดี ที่แข็งแรงกันทั้งนั้น แต่ทำอย่างได้ หากวันนึงเราต้องประสบพบเจอกับโรคต่างๆ อาจเพราะสาเหตุจากการทำงานอย่างหนักหน่วง ภาวะเครียดสะสม หรือโรคที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น และหนึ่งในโรคยอดฮิตที่ติดอันดับต้นๆ ในประเทศไทย นั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง จนทำให้บางครั้งเราต้องซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านไว้ซะเลย
ทำความรู้จักความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่ได้ทำการสูบฉีดหรือส่งแรงกระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง หรือที่เราเรียกกันว่า ‘กระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจ’ นั่นเอง โดยที่เราสามารถวัดค่าความดันโลหิตออกมาในรูปแบบของการบีบและการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งเราเรียก 2 ค่านี้ว่า ค่าความดันช่วงบนจากการบีบตัวของหัวใจและค่าความดันช่วงล่างจากการคลายตัวของหัวใจ โดยที่เราสามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ง่ายๆ ที่โรงพยาบาล คลินิกใกล้บ้าน หรือหาซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาวัดเองที่บ้านก็ได้เช่นกัน
ประเภทของความดันโลหิต
สามารถแบ่งประเภทของความดันโลหิตออกเป็น 2 ประเภท อันได้แก่ ความดันโลหิตต่ำและความดันโลหิตสูง ซึ่งจะทราบผลว่าความดันโลหิตต่ำหรือสูงได้นั้นต้องวัดจากเครื่องวัดความดันโลหิตเท่านั้น
ลักษณะของความดันโลหิตต่ำในผู้ใหญ่โดยการวัดค่าจากเครื่องวัดความดันโลหิตจะเป็นภาวะที่ความดันของโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) และในผู้สูงอายุจะเป็นภาวะที่ความดันของโลหิตต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะเกิดอาการนี้ขึ้นได้หากร่างกายอ่อนแอ สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้ วิงเวียนศีรษะ, หน้ามืด, ตาพร่ามัว, คลื่นไส้, อ่อนเพลีย หรือกระหายน้ำ เป็นต้น
ลักษณะของความดันโลหิตสูงที่มักพบในผู้คนทั่วไปจะเป็นภาวะที่ความดันของโลหิตสูงเกินกว่าปกติ โดยค่าความดันปกติจะอยู่ที่ 120/80 (mm/Hg) แต่ถ้าหากวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตได้ค่าตั้งแต่ 140/90 (mm/Hg) นับว่าเข้าข่ายเป็นความดันโลหิตสูงได้ ควรเฝ้าสังเกตอาการตัวเองและวัดค่าความดันใหม่อีกครั้ง หากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้ ปวดมึนท้ายทอย, ปวดศีรษะคล้ายไมเกรน, นอนไม่หลับ หรือเหนื่อยง่าย เป็นต้น
ตัวช่วยสำคัญ ‘เครื่องวัดความดันโลหิต’
จริงๆ แล้วอย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าโรคความดันโลหิตเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะในบางครั้งร่างกายก็ไม่ได้แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใดให้เราได้รับรู้และเตรียมตัวรักษาก่อน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงที่หลายครั้งก็ไม่ได้แสดงอาการให้เราสังเกตเห็นและรีบไปรักษา ถ้าเกิดขึ้นแบบฉับพลันอาจส่งผลต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตก็เป็นได้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีการง่ายๆ ที่เราจะรู้เท่าทันโรคนี้ก่อนที่จะสายเกินแก้นั่นก็คือการหมั่นวัดค่าความดันโลหิตด้วยตัวเองจากเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีคุณภาพ มีการรับประกัน โดยเฉพาะผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตัวเองเคยมีประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตต่ำหรือโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน อุปกรณ์อย่างเครื่องวัดความดันโลหิตยิ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าจะต้องเดินทางไปวัดค่าความดันที่โรงพยาบาลบ่อยๆ ก็อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายหรือเสียเวลาโดยใช่เหตุ เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่รองรับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างเครื่องวัดความดันโลหิต โดยออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุสามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งมีการยอมรับในหมู่มากแล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสามารถใช้งานได้จริง (ทั้งนี้ก่อนเลือกซื้อควรศึกษาที่มาของแหล่งซื้อให้ถี่ถ้วนหรือปรึกษาเราได้ที่นี่)
วิธีการวัดค่าความดันด้วยตัวเอง
1. วัด 2 รอบ โดยห่างกันรอบละ 1-2 นาที
2. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ ก่อนวัดค่า 30 นาที
3. วางแขนราบกับพื้นในท่าที่ผ่อนคลาย
4. ไม่กำมือ ไม่เกร็ง หรือขยับตัวขณะทำการวัดค่า
สอบถามสินค้า Fasicare
วิธีการอ่านค่าความดันโลหิต
ก่อนที่เราจะอ่านค่าความดันโลหิตบนหน้าจอเครื่องวัดความดันโลหิต เราจำเป็นต้องรู้ความหมายของสัญลักษณ์หรือความหมายของตัวอักษรภาษาอังกฤษบนหน้าจอเครื่องวัดความดันโลหิตเสียก่อน ซึ่งจะปรากฏ 3 ค่าหลักๆ เบื้องต้นที่เราต้องทราบ อันได้แก่
• Systolic (SYS) คือ ค่าความดันในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมอยู่ที่ 120-129 mmHg
• Diastolic (DIA) คือ ค่าความดันในขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมอยู่ที่ 80-84 mmHg
• Pulsation (PUL) คือ ค่าอัตราการเต้นหรือชีพจรของหัวใจ โดยที่มีการบีบตัว 1 ครั้งก็จะมีแรงดันมายังเส้นเลือด 1 ครั้ง ซึ่งปกติค่าอัตราการเต้นหรือชีพจรของหัวใจอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที
โดยการวัดค่าความดันโลหิตจากเครื่องวัดความดันโลหิตจะมีเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละช่วงอายุคนที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งช่วงอายุคนออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย
1. ช่วงอายุวัยทารก ค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 90/60 mmHg
2. ช่วงอายุวัยเด็กเล็ก 3-6 ปี ค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 100/70 mmHg
3. ช่วงอายุวัยเด็กโต 7-17 ปี ค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 120/80 mmHg
4. ช่วงอายุวัยทำงาน ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 140/90 mmHg
5. ช่วงอายุวัยผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ค่าความดันโลหิตโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน 160/90 mmHg
จะสังเกตได้ว่าปกติแล้วเท่าที่เราเคยได้ยินมาค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 mmHg แต่อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่มาตรฐานค่าความดันโลหิตของทุกช่วงอายุ หากเราวัดค่าความดันโลหิตของวัยทารกและได้ 120/80 mmHg นั่นหมายความว่าเด็กทารกนั้นมีค่าความดันสูงกว่าปกติ หรือถ้าวัดค่าความดันโลหิตของวัยผู้สูงอายุและได้ 120/80 mmHg นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุนั้นมีค่าความดันต่ำกว่าปกตินั่นเอง เพราะฉะนั้นการที่เราซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาวัดด้วยตัวเอง ความรู้เรื่องวิธีการอ่านค่าความดันโลหิตอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง หรือสามารถขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอ่านค่าเครื่องวัดความดันโลหิตโดยเฉพาะ
ที่สำคัญการประเมินค่าความดันโลหิตสูงก็มีหลายระดับและในปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงไม่เพียงแต่พบในช่วงอายุวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังพบมากในช่วงอายุคนวัยทำงานอีกด้วย ซึ่งมีตั้งแต่ระดับกลุ่มความเสี่ยงสูง สูงเล็กน้อย จนถึงสูงรุนแรง ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
– ระดับกลุ่มความดันปกติ <130/<85 mmHg แนะนำควรตรวจสุขภาพทุกปี
– ระดับกลุ่มความเสี่ยงสูง 130-139/85-89 mmHg แนะนำควรตรวจสุขภาพทุกปี
– ระดับกลุ่มความดันสูงเล็กน้อย 140-159/90-99 mmHg แนะนำควรตรวจอีกครั้งภายใน 2 เดือน
– ระดับกลุ่มความดันสูงปานกลาง 160-179/100-109 mmHg แนะนำควรตรวจอีกครั้งภายใน 1 เดือน
– ระดับกลุ่มความดันสูงรุนแรง 180-209/110-119 mmHg แนะนำควรตรวจอีกครั้งภายใน 1 เดือน
– ระดับกลุ่มความดันสูงรุนแรงมาก >210/>120 mmHg แนะนำควรปรึกษาแพทย์หรือเข้ารับการรักษาทันที
*สำหรับช่วงอายุวัยผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากวัดค่าความดันแล้วเกิน 140/90 mmHg แนะนำควรปรึกษาแพทย์ เพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง นำมาสู่การเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หรือโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
หากต้องการดูแลตัวเองหรือคนที่เรารักหลังทราบว่าเป็นโรคความดัน ไอเท็มแรกที่ต้องมีนั่นก็คือ เครื่องวัดค่าความดันโลหิต และที่สำคัญต้องมีการรับรองคุณภาพระดับสากล ใช้งานง่าย พร้อมกับการประกันสินค้าที่น่าเชื่อถือ Fasicare แหล่งรวม เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รถเข็นไฟฟ้า และ อุปกรณ์สุขภาพ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์คุณได้ทุกมิติ เพราะเราเชื่อว่าหนึ่งในความสุขของชีวิตคือการดูแลใส่ใจสุขภาพโดยการใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Telephone: 086-300-2582
Line: @fasicare
E-Mail: [email protected]