How to การเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย หรือ รถวีลแชร์ รถเข็นผู้สูงอายุ ถูกใจผู้ใช้สบายกระเป๋าผู้ซื้อ

รถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น ประสบอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยต่างๆ การใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการเดิน อาจจะทำได้ไม่คล่องตัวนัก รถเข็นผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ใช้งานใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

วันนี้น้องฟาจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ รถเข็นผู้สูงอายุ เพื่อการเลือกซื้อรถเข็นที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแบบประหยัดเงินในกระเป๋ากันค่ะ

Check list เบื้องต้นในการเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย สิ่งที่จะต้องพิจารณามีดังนี้

1 อาการเจ็บป่วยของผู้ใช้รถเข็น
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นตลอดเวลา อาจจะต้องเลือกรถเข็นที่มีน้ำหนักเบา พับเก็บได้ เพราะสะดวกในการนำไปใช้นอกสถานที่
หากผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็สามารถเลือกรถเข็นที่ผู้ป่วยสามารถเข็นได้เอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา

2 งบประมาณในการซื้อรถเข็น
รถเข็นผู้ป่วย มีหลายราคาตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ตามโครงสร้างและฟังก์ชั่น เช่น สามารถถอดพนักพิง หรือพับเก็บได้
ในการเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย การพิจารณาวัสดุและฟังก์ชั่นการใช้งานที่หมาะสมกับผู้ป่วยก็จะช่วยให้ประหยัดเงินไปได้มาก

3 นั่งแล้วสบาย ถูกใจผู้ใช้งาน
ปัจจุบัน รถเข็นผู้ป่วย ได้ออกแบบให้มีรูปทรงที่สวยงาม ไม่เทอะทะ นั่งสบาย ไม่อึดอัด มีเบาะนั่งให้เลือกหลายรูปแบบ
มีให้เลือกใช้งานทั้งเบาะผ้าและเบาะ PVC อีกทั้งยังมีสีสันและลวดลายให้ผู้ป่วยได้เลือกใช้งานได้ตามที่ต้องการ

4 ความปลอดภัยในการใช้งาน
สิ่งสำคัญในกรเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย ก็คือความปลอดภัย วัสดุที่ประกอบต้องมีความแข็งแรง ทนทาน
รถเข็นจะต้องใช้งานได้อย่างปกติ มีระบบเบรกและสามารถรองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ดี

5 การรับประกันจากผู้ขาย
ก่อนการซื้อรถเข็นคนป่วย อย่าลืมเช็กการรับประกันและบริการหลังการขายจากร้านค้าที่ซื้อ
ถ้าหากมีการรับประกันก็มั่นใจได้ว่าเมื่อใช้งานแล้วหากสินค้าเกิดปัญหา สามารถแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับทางร้านได้

รถเข็นผู้ป่วย หรือ รถเข็นผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 แบบ

1 รถเข็นแบบที่ต้องให้ผู้ดูแลเข็นให้

เป็นรถเข็นที่ไม่สามารถใช้มือขยับล้อเลื่อนได้เอง ล้อเลื่อนจะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้เอง ต้องมีผู้ดูแลช่วยเข็นไปยังสถานที่ต่างๆ รถเข็นแบบนี้จะมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีราคาที่ไม่สูงมาก

2 รถเข็นแบบที่ผู้ป่วยเข็นเองได้

เป็นรถเข็นที่ผู้ป่วยสามารถใช้มือขยับล้อเลื่อนได้เอง ล้อเลื่อนด้านหลังจะมีขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยใช้มือหมุนล้อเลื่อนในการเคลื่อนที่ รถวีลแชร์ ไปยังสถานที่ที่ต้องการได้

ส่วนต่างๆ ของ รถเข็นผู้สูงอายุ

น้องฟาจะพาไปดูส่วนประกอบของ รถเข็นผู้ป่วย หรือ รถวีลแชร์ Wheelchairs ว่ามีอะไรบ้าง แล้วแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร เพื่อจะได้เป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อรถเข็นให้เหมาะสมกับผู้ป่วยกันค่ะ

1 โครงสร้างรถเข็นผู้ป่วย
มีโครงสร้าง 2 แบบ

– โครงสร้างอะลูมิเนียม
วัสดุอะลูเนียมมีคุณสมบัติไม่ก่อให้เกิดสนิม แข็งแรง ทนทาน สวยงาม ดูแลง่าย และมีน้ำหนักเบา

– โครงสร้างเหล็กชุบไครเมียม หรือ เหล็กพ่นสี
คุณสมบัติแข็งแรง หากใช้งานอย่างถูกวิธี รักษาสภาพรถให้ดี จะมีความทนทานสูง ที่สำคัญคือราคาไม่แพง


2 ล้อเลื่อน
ล้อเลื่อนที่ดีควรมีความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี โดยแบ่งเป็น
– ล้อหน้า จะเป็นล้อขนาดเล็ก
– ล้อหลัง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

ล้อใหญ่ ล้อชนิดนี้จะมีวงล้อจับ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข็นรถได้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหว เป็นการออกกำลังกายไปในตัว ผู้ป่วยจะรู้สึกคล่องตัวต่อการเคลื่อนย้ายตนเองไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ
ล้อเล็ก มีความกะทัดรัด คล่องตัว ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข็นรถได้ด้วยตนเอง หรือ ต้องการให้ผู้อื่นเป็นผู้ช่วยในการเข็นรถให้ และล้อรถเข็นทั้ง 2 แบบนี้ จะมีชนิดยางตันและยางสูบลม

– ล้อยางต้น เป็นพลาสติกเนื้อแน่น แข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่ต้องเสียเวลาสูบลม
– ล้อสูบลม จะมีความนิ่มนวล สามารถรับแรงกระแทกได้มากกว่า และสามารถปรับลด-เพิ่มลมได้ตามความต้องการ

3 เบาะนั่งแบบผ้าและเบาะ PVC

– เบาะนั่งแบบผ้า
ให้ความยืดหยุ่น ไม่ย้วย นั่งสบาย คืนรูปทรงได้ดีหลังการใช้งาน ช่วยระบายความร้อนได้ดี ถ้าหากสามารถถอดชักทำความสะอาดได้ ก็จะเป็นการเพิ่มสุขอานามัยที่ดีให้แก่ผู้ป่วย

– เบาะนั่งแบบ PVC
มีความยืดหยุ่น นั่งสบาย คืนรูปทรงได้ดีหลังการใช้งาน เบาะนั่งแบบ PVC มีจุดเด่นคือดูแล รักษาและทำความสะอาดง่าย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รถเข็นผู้ป่วยบางรุ่นสามารถถอดเบาะออกเพื่อขับถ่ายได้ ซึ่งออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

4 ระบบเบรกและเข็มขัดนิรภัย
ส่วนสำคัญในการเลือกชี้อ รถเข็นผู้สูงอายุ คือความปลอดภัยในการใช้งาน แบ่งเป็น

– เข็มขัดนิรภัย
ช่วยในเรื่องความปลอดภัย ป้องกันผู้ใช้งานพลัดตกจากรถเข็นได้เป็นอย่างดี

– ระบบเบรก ช่วยให้หยุดรถได้อย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัย ช่วยให้รถเข็นไม่ลื่นไหลขณะใช้งาน ระบบเบรกมี 2 แบบ

1 เบรกมือ
มีไว้สำหรับผู้ดูแลใช้งาน ในบางรุ่นสมารถล็อกเบรกมือได้ด้วย

2 เบรกล้อ
รถเข็นที่มีล้อใหญ่ ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนรถเข็นและใช้เบรกล้อเพื่อหยุดรถเข็นได้เอง

 

5 พนักพิง พนักวางเท้า และที่เก็บของด้านหลัง

– พนักพิงพับได้
รถเข็นผู้ป่วย ที่สามารถพับพนักพิงหลังได้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน

– พับเก็บได้
หากสามารถพับเก็บรถเข็นได้ ก็จะช่วยให้จัดเก็บรถเข็นได้แบบไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน รถเข็นคนป่วย ที่สามารถพับเก็บขึ้นเครื่องบินได้ ช่วยให้สะดวกในการนำไปใช้นอกสถานที่

– ที่เก็บของด้านหลัง
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องพกพาของใช้ที่จำเป็นติดตัวตลอดเวลา ที่เก็บของด้านหลังก็สำคัญไม่น้อย ช่วยให้จัดเก็บสิ่งของได้และสะดวกต่อการหยิบใช้งาน

มาตรฐานและการรับประกันจากผู้ขาย

ก่อนซื้อ รถเข็นคนป่วย ไม่ว่าจะซื้อจากร้านค้า หรือจากเว็บไซต์ อย่าลืมสังเกตมาตรฐานจาก อย. หรือมาตรฐาน ISO 13485 (มาตรฐานคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และอย่าลืมสอบถามการรับประกันจากผู้ขาย หรือบริการหลังการขายด้วย หากสินค้ามีปัญหา จะได้รับการดูแลจากทางบริษัท

บริษัท Fasiare มีมาตรฐานจาก อย. และมาตรฐาน ISO 13485 สำหรับ รถเข็นผู้ป่วย ทุกตัว รวมถึงการบริการหลังการขายที่ทำให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าและบริการที่ดีอย่างแน่นอน มีรายละเอียดดังนี้

การรับประกัน รถเข็นผู้ป่วย จากทาง Fasicare

  • รถวีลแชร์ ทุกคันมีใบรับประกันสินค้า
  • รถวีลแชร์ ของเรามีอะไหล่ทุกชิ้น
  • มันใจกับทีมงานซ่อมบำรุงมืออาชีพ ดูแลตลอดการใช้งาน
  • รับประกันสินค้า 2 ปี

รถเข็นคนป่วย ถูกใจผู้ใช้ เลือกซื้อได้ตามงบที่มี

น้องฟาหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย ได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น ก่อนเลือกซื้ออย่าลืม Check list ตามน้องฟาด้วยนะคะ จะได้ซื้อสินค้าที่ดี และคุ้มค่าเงินสูงสุด และอย่าลืมกด Like Facebook Page เป็นกำลังใจให้น้องฟาด้วยนะคะ น้องฟามีความรู้และสาระดีๆ มาฝากอีกเพียบเลยค่ะ พบกันไหม่คราวหน้าค่ะ