ค่าคีโตเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
การทานคีโตเหมาะกับใครบ้าง
ช่วงนี้เทรนการลดน้ำหนักต้อนรับเทศกาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะสงกรานต์ หรือการลดหุ่น เพื่อไปเที่ยวช่วงวันหยุดกำลังเป็นที่นิยมเลย ซึ่งก็มีผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องของการทำ IF (Intermittent Fasting) การกำหนดช่วงเวลาทานอาหาร นิยมเป็นอย่างมาก แต่อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความสนใจเช่นกัน คือ การทานคีโต (Ketogenic Diet) จากการค้นหาผ่าน google พบว่ามีจำนวนการเสิร์ชถึง คีโต ไม่น้อยที่ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า คีโต กำลังอยู่ในกระแสความสนใจ
และเชื่อว่าหลายคนอาจจะมองว่า การทานคีโต หรือการลดน้ำหนักแบบคีโตค่อนข้างยาก อาจจะเพราะยังทำความเข้าใจกับการลดน้ำหนักด้วยวิธีคีโตไม่มากพอ ดังนั้นวันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการลดน้ำหนักแบบคีโตอย่างละเอียดและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพื่อเป็นทางเลือกให้สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือเฟิร์มหุ่น ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคีโตคืออะไร และมีกระบวนการช่วยลดน้ำหนักอย่างไรบ้าง
ลดน้ำหนักแบบคีโต (Ketogenic Diet) คืออะไร
คีโต จริง ๆ แล้วมาจากคำว่า “คีโตเจนิก ไดเอต” (Ketogenic diet) คือ วิธีการเน้นทานอาหารประเภทหมวดหมู่ไขมันและโปรตีน เป็นหลัก และลดสัดส่วนการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น อาหารจำพวกแป้ง ข้าวและน้ำตาล ให้เหลือเพียง 5% หรือปริมาณ 20-50 กรัมต่อวันเท่านั้น ส่วนบางคนที่เคร่งครัดมาก ๆ ก็เลือกที่จะไม่ทานกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
การทานคีโตเหมาะกับใครบ้าง
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ระบบเผาผลาญในร่างกายให้กลับมาทำงานปกติ, กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกิน, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การกินคีโต หรือลดน้ำหนักแบบคีโต ไดเอท จะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นนักกีฬา สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และสำหรับใครที่อยากลดน้ำหนักแบบคีโต ไดเอทที่ถูกวิธีก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินร่างกายก่อนเข้ากระบวนการ
คีโตทำหน้าที่อย่างไรกับร่างกาย
เมื่อร่างกายของเราไม่รับสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต จะเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ทำความเข้าใจง่าย ๆ ภาวะที่ร่างกายดึงไขมันเก่าในร่างกายมาแปลเป็นพลังงานหลัก จากปกติแล้วร่างกายจะดึงน้ำตาลในร่างกายมาเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงาน
ซึ่งสำหรับการกินคีโต คือ การเน้นกลุ่มไขมันเข้าไปดังนั้น ไขมันที่จะทานเข้าไปในร่างกายให้การกินคีโต มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ใช่ไมันจากของทอด แต่ไขมันที่ถูกต้องแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันดี ส่วนใหญ่พบในพืชผักและปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทะเล แซลมอน อาโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คือมีทั้งไขมันดีและไขมันเลว ส่วนใหญ่พบได้ในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและพืชบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ น้ำมันหมู ไก่ โยเกิร์ต เนย ชีส กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ไขมันทั้ง 2 ประเภทนี้ทางการแพทย์และมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่า มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากบริโภคอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เช่นกัน ดูแล้วจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำไป สิ่งที่ตามมาคือคุณอาจพบระดับไขมันในเลือดผิดปกติได้
แต่ทั้งนี้ผู้ที่ทานคีโตก็ต้องระมัดระวังการทานผักหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง และที่เสี่ยงไปกว่านั้น คือ เสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลระยะยาวแน่ ๆ ดังนั้นควรทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวเฉพาะด้านก็จะช่วยให้การทานคีโตของคุณปลอดภัยและได้ผลจริง ซึ่งการวัดค่าคีโต จะมีด้วยกัน 3 วิธี คุณสามารถเลือกได้ตามสะดวก วิธีที่ 1 วัดทางปัสสาวะ วิธีที่ 2 วัดทางลมหายใจ ซึ่งการวัดทางลมหายใจจะไม่ค่อยได้รับความนิยม และวิธีที่ 3 วัดค่าคีโตนในเลือด จะวัดค่าคีโตได้แม่นยำที่สุด และเป็นที่นิยมมากที่สุด
แนะนำเครื่องวัดค่าคีโตน หรือเครื่องตรวจเบาหวานที่ผ่าน มาตรฐานสากล CE ISO 15197:2015 และ ISO 13485:2016
eBketone เครื่องตรวจคีโตนในเลือด เครื่องตรวจเบาหวาน ใช้เลือดเพียงเล็กน้อย ก็ทราบผลภายใน 10 วิ รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
- มีจอแสดงผล LED แม่นยำ
- หน่วยความจำ 180 ค่า
- น้ำหนักตัวเครื่อง 70 กรัม
- ขนาดตัวเครื่อง 85 x 60 x 21 มม.
อุปกรณ์ที่มาพร้อมในกล่อง ประกอบด้วย
- ตัวเครื่อง eBketone 1 เครื่อง
- ปากกา Lancet 1 อัน
- แผ่นตรวจ Test Strip 10 แผ่น
- เข็มเจาะเลือด 10 อัน
- แผ่นโค้ด 1 แผ่น
- ถ่านอัลคาไลน์ ขนาด AAA /2 ก้อน
- คู่มือการใช้งาน
- กระเป๋าจัดเก็บอุปกรณ์
สามารถหาซื้อได้ที่ Fasicare : fasicare.com
ค่าคีโตเท่าไร จึงจะเหมาะสม
ค่าคีโตนในเลือด (mmol/L) |
ค่าคีโตนในเลือด (mg/dL) |
|
คาร์บปานกลาง (Moderate Carb Diet) ช่วงทนปกติ |
<0.1 |
<0.58 |
คาร์บปานกลาง (Moderate Carb Diet) ช่วงอดอาหาร |
0.1-0.3 |
0.58-1.74 |
อดอาหาร (Fasting) เป็นสัปดาห์ |
5-7 |
29.05-40.67 |
คาร์บต่ำมาก (Very low Carb Diet) <50 กรัมต่อวัน |
0.5-3 |
2.9-17.43 |
คาร์บต่ำมาก (Very low Carb Diet) หลังออกกำลังกาย |
1-5 |
5.81-29.05 |
คีโตอะซิโดสิส (Ketoacidosis) |
10-20 ขึ้นไป |
58.1-116.2 ขึ้นไป |
ค่าคีโตนที่เหมาะสม สำหรับที่วัดทางเลือด ควรจะอยู่ที่ 0.5-3.0 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) สามารถเทียบตามการทานกับตารางดังกล่างได้เลย แต่ก็อย่าลืมว่าร่างกายของเราก็ต้องการน้ำตาลเช่นกัน(ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม) และถ้าหากไม่มั่นใจให้พบแพทย์และปรึกษาแพทย์โดยด่วน
และสุดท้ายนี้สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องผลกระทบหากทานคีโตไม่ถูกวิธี ก็ควรจะมีวินัยกับการทาน และมั่นเช็กค่าคีโตด้วย เครื่องตรวจเบาหวานเป็นประจำ หรือควบคู่กับการปรึกษาแพทย์เป็นดีที่สุด และ Fasicare เป็นศูนย์รวมสินค้าทั้งรถเข็นไฟฟ้า รถเข็นผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า พร้อมให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ทุกคน นอกจากนี้ยังมีโชว์รูมให้ทดลองใช้สินค้า มีทีมขนส่งและบริการหลังการขายที่ครบครัน เพื่อช่วยคุณดูแลคนที่คุณรัก
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Website: https://fasicare.com
Telephone: 086-3002582
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare
E-mail: [email protected]
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop