ค่าคีโตเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

ค่าคีโตเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

ค่าคีโตเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

การทานคีโตเหมาะกับใครบ้าง

ช่วงนี้เทรนการลดน้ำหนักต้อนรับเทศกาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะสงกรานต์ หรือการลดหุ่น เพื่อไปเที่ยวช่วงวันหยุดกำลังเป็นที่นิยมเลย ซึ่งก็มีผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องของการทำ IF (Intermittent Fasting) การกำหนดช่วงเวลาทานอาหาร นิยมเป็นอย่างมาก แต่อีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความสนใจเช่นกัน คือ การทานคีโต (Ketogenic Diet) จากการค้นหาผ่าน google พบว่ามีจำนวนการเสิร์ชถึง คีโต ไม่น้อยที่ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า คีโต กำลังอยู่ในกระแสความสนใจ

และเชื่อว่าหลายคนอาจจะมองว่า การทานคีโต หรือการลดน้ำหนักแบบคีโตค่อนข้างยาก อาจจะเพราะยังทำความเข้าใจกับการลดน้ำหนักด้วยวิธีคีโตไม่มากพอ ดังนั้นวันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการลดน้ำหนักแบบคีโตอย่างละเอียดและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพื่อเป็นทางเลือกให้สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือเฟิร์มหุ่น ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคีโตคืออะไร และมีกระบวนการช่วยลดน้ำหนักอย่างไรบ้าง

ลดน้ำหนักแบบคีโต (Ketogenic Diet) คืออะไร

คีโต จริง ๆ แล้วมาจากคำว่า “คีโตเจนิก ไดเอต” (Ketogenic diet) คือ วิธีการเน้นทานอาหารประเภทหมวดหมู่ไขมันและโปรตีน เป็นหลัก และลดสัดส่วนการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น อาหารจำพวกแป้ง ข้าวและน้ำตาล ให้เหลือเพียง 5% หรือปริมาณ 20-50 กรัมต่อวันเท่านั้น ส่วนบางคนที่เคร่งครัดมาก ๆ ก็เลือกที่จะไม่ทานกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

การทานคีโตเหมาะกับใครบ้าง

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ระบบเผาผลาญในร่างกายให้กลับมาทำงานปกติ, กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกิน, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การกินคีโต หรือลดน้ำหนักแบบคีโต ไดเอท จะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นนักกีฬา สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และสำหรับใครที่อยากลดน้ำหนักแบบคีโต ไดเอทที่ถูกวิธีก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินร่างกายก่อนเข้ากระบวนการ

คีโตทำหน้าที่อย่างไรกับร่างกาย

เมื่อร่างกายของเราไม่รับสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต จะเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ทำความเข้าใจง่าย ๆ ภาวะที่ร่างกายดึงไขมันเก่าในร่างกายมาแปลเป็นพลังงานหลัก จากปกติแล้วร่างกายจะดึงน้ำตาลในร่างกายมาเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงาน

ซึ่งสำหรับการกินคีโต คือ การเน้นกลุ่มไขมันเข้าไปดังนั้น ไขมันที่จะทานเข้าไปในร่างกายให้การกินคีโต มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ใช่ไมันจากของทอด แต่ไขมันที่ถูกต้องแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  1. อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันดี ส่วนใหญ่พบในพืชผักและปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทะเล แซลมอน อาโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น
  2. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คือมีทั้งไขมันดีและไขมันเลว ส่วนใหญ่พบได้ในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและพืชบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ น้ำมันหมู ไก่ โยเกิร์ต เนย ชีส กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ไขมันทั้ง 2 ประเภทนี้ทางการแพทย์และมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่า มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากบริโภคอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เช่นกัน ดูแล้วจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำไป สิ่งที่ตามมาคือคุณอาจพบระดับไขมันในเลือดผิดปกติได้

แต่ทั้งนี้ผู้ที่ทานคีโตก็ต้องระมัดระวังการทานผักหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง และที่เสี่ยงไปกว่านั้น คือ เสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลระยะยาวแน่ ๆ ดังนั้นควรทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวเฉพาะด้านก็จะช่วยให้การทานคีโตของคุณปลอดภัยและได้ผลจริง ซึ่งการวัดค่าคีโต จะมีด้วยกัน 3 วิธี คุณสามารถเลือกได้ตามสะดวก วิธีที่ 1 วัดทางปัสสาวะ วิธีที่ 2 วัดทางลมหายใจ ซึ่งการวัดทางลมหายใจจะไม่ค่อยได้รับความนิยม และวิธีที่ 3 วัดค่าคีโตนในเลือด จะวัดค่าคีโตได้แม่นยำที่สุด และเป็นที่นิยมมากที่สุด

แนะนำเครื่องวัดค่าคีโตน หรือเครื่องตรวจเบาหวานที่ผ่าน มาตรฐานสากล CE ISO 15197:2015 และ ISO 13485:2016

 

eBketone เครื่องตรวจคีโตนในเลือด เครื่องตรวจเบาหวาน ใช้เลือดเพียงเล็กน้อย ก็ทราบผลภายใน 10 วิ รับประกันตลอดอายุการใช้งาน

  • มีจอแสดงผล LED แม่นยำ
  • หน่วยความจำ 180 ค่า
  • น้ำหนักตัวเครื่อง 70 กรัม
  • ขนาดตัวเครื่อง 85 x 60 x 21 มม.

อุปกรณ์ที่มาพร้อมในกล่อง ประกอบด้วย

  1. ตัวเครื่อง eBketone 1 เครื่อง
  2. ปากกา Lancet 1 อัน
  3. แผ่นตรวจ Test Strip 10 แผ่น
  4. เข็มเจาะเลือด 10 อัน
  5. แผ่นโค้ด 1 แผ่น
  6. ถ่านอัลคาไลน์ ขนาด AAA /2 ก้อน
  7. คู่มือการใช้งาน
  8. กระเป๋าจัดเก็บอุปกรณ์

สามารถหาซื้อได้ที่ Fasicare : fasicare.com

 

ค่าคีโตเท่าไร จึงจะเหมาะสม

 

ค่าคีโตนในเลือด (mmol/L)

ค่าคีโตนในเลือด (mg/dL)

คาร์บปานกลาง (Moderate Carb Diet) ช่วงทนปกติ

<0.1

<0.58

คาร์บปานกลาง (Moderate Carb Diet) ช่วงอดอาหาร

0.1-0.3

0.58-1.74

อดอาหาร (Fasting) เป็นสัปดาห์

5-7

29.05-40.67

คาร์บต่ำมาก (Very low Carb Diet) <50 กรัมต่อวัน

0.5-3

2.9-17.43

คาร์บต่ำมาก (Very low Carb Diet) หลังออกกำลังกาย

1-5

5.81-29.05

คีโตอะซิโดสิส (Ketoacidosis)

10-20 ขึ้นไป

58.1-116.2 ขึ้นไป

ค่าคีโตนที่เหมาะสม สำหรับที่วัดทางเลือด ควรจะอยู่ที่ 0.5-3.0 mmol/L (มิลลิโมลต่อลิตร) สามารถเทียบตามการทานกับตารางดังกล่างได้เลย แต่ก็อย่าลืมว่าร่างกายของเราก็ต้องการน้ำตาลเช่นกัน(ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม) และถ้าหากไม่มั่นใจให้พบแพทย์และปรึกษาแพทย์โดยด่วน

และสุดท้ายนี้สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องผลกระทบหากทานคีโตไม่ถูกวิธี ก็ควรจะมีวินัยกับการทาน และมั่นเช็กค่าคีโตด้วย เครื่องตรวจเบาหวานเป็นประจำ หรือควบคู่กับการปรึกษาแพทย์เป็นดีที่สุด และ Fasicare เป็นศูนย์รวมสินค้าทั้งรถเข็นไฟฟ้า รถเข็นผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า พร้อมให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ทุกคน นอกจากนี้ยังมีโชว์รูมให้ทดลองใช้สินค้า มีทีมขนส่งและบริการหลังการขายที่ครบครัน เพื่อช่วยคุณดูแลคนที่คุณรัก

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://fasicare.com
Telephone: 086-3002582
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare
E-mail: [email protected]
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop