เรียนรู้วิธีรับมือและป้องกันความเสี่ยง โรคเบาหวาน ด้วย เครื่องตรวจเบาหวาน
คุณรู้หรือไม่? สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานในปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเข้ามาคัดกรองโรคเบาหวานในปี 2565 จำนวน 3.3 ล้านคน ซึ่งเพิ่มจากสถิติของปี 2564 มากถึง 1.5 แสนคน (อ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข) และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ สถิติใหม่พบในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เรียกได้ว่าขยับเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น สามารถเป็นทุกเมื่อไม่ต้องรอเข้าสู่สูงวัยอีกต่อไป ดังนั้นเรื่อง โรคเบาหวาน ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราควรมาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีรับมือและป้องกันความเสี่ยง โรคเบาหวาน ก่อนจะสายเกินแก้
โรคเบาหวาน คืออะไร
ตามข้อมูลสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย อธิบายไว้ว่า โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายในส่วนของขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอินซูลินและฮอร์โมนที่ผลิตมาจากตับอ่อน เพื่อมาทำหน้าที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในร่างกาย ที่เราได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องการฉีดอินซูลินก็คือกระบวนการนี้แหละ กระบวนการที่กระตุ้นการทำงานควบคุมน้ำตาลในร่างกายทั้งหมด และในความซับซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งย่อยออกมาอีก 4 ชนิด เรียกว่าครอบคลุมทุกวัยมีโอกาสเป็นได้ทุกเมื่อ
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1
ชนิดนี้เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่จะพบกับในเด็ก เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเองทำให้ขาดอินซูลิน วิธีรักษาจึงจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน - โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เรียกได้ว่าเป็นชนิดที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 95% มักจะเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือภาวะโรคอ้วนปะปนอยู่ด้วย โรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาความดันอยู่ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ไปจนถึงหากเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดก็เสี่ยงโรคเบาหวานได้เช่นกัน สาเหตุเกิดจากร่างกายมีภาวะต่อต้านอินซูลิน - โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ภาวะเสี่ยงแบบนี้มักจะพบเจอในคุณแม่ไตรมาสที่ 2-3 ซึ่งจะพบเจอได้ก็ต่อเมื่อคุณหมอตรวจเจอ เพราะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักจะไม่พบอาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นอยู่ แต่ก็จะมีโอกาสหายไปหลังจากคลอดบุตร แต่ก็อาจจะส่งผลต่อลูกในครรภ์หรือคุณแม่ได้เหมือนกัน อย่างเช่น อาการครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ปลายประสาท ดวงตาและไต
ส่วนผลกระทบกับลูกน้อย อาจจะทำให้ทารกตัวใหญ่กว่าปกติ โอกาสอันตรายขณะคลอดและโอกาสแท้งสูง ไปจนถึงอาการหลักคลอดทารกอาจจะเกิดการหายใจผิดปกติ ตัวเหลือง ระบบน้ำตาลหรือเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ การลดความเสี่ยงเบื้องต้นคือเน้นทานโปรตีน หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด - โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ
ประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคตับอ่อนอักเสบ โรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อหรือการทานยาบางชนิดที่มีสารสตอรอยด์
วิธีสังเกตตัวเองเบื้องต้นว่าเป็น โรคเบาหวาน หรือไม่?
มีหลายคนนักที่มักจะใช้ชีวิตและร่างกายอยู่บทความประมาณ เช่น ทานแต่ของที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ พักผ่อนน้อย สภาวะรอบตัวสิ่งแวดล้อมการทำงานการกินอยู่ส่งผลต่อสุขภาพได้ทั้งหมดเช่นกัน ยิ่งผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูงมักจะเสี่ยงง่ายที่สุด ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และหมั่นสังเกตตัวเองดีที่สุด วันนี้เราจะให้ความรู้เทคนิคการสังเกตตัวเองเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการของโรคเบาหวาน รู้ก่อนปลอดภัยกว่า
- อาการที่ 1 : ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การที่ต้องเข้าห้องน้ำไปปัสสาวะบ่อย ๆ ก็มาจากกระบวนการกรองน้ำตาล พบว่ามีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมากจนต้องขับออกมาทางรูปแบบปัสสาวะ ยิ่งผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยิ่งจะเข้าห้องน้ำบ่อย สังเกตง่าย ๆ คือช่วงกลางคืนหลาย ๆ ครั้ง ต้องรีบตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือด อาจจะใช้วิธีการเครื่องตรวจเบาหวาน สามารถทำเองได้ที่บ้าน - อาการที่ 2 : รู้สึกกระหายน้ำ หรือคอแห้งตลอดเวลา
สาเหตุอาการที่ 2 นี้ก็สืบเนื่องมาจากข้อแรก เพราะคุณต้องสูญเสียน้ำในร่างกายมากเกินกว่าปกติ จึงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ต้องการดื่มน้ำมากเป็นพิเศษ จากกระบวนการในร่างกายเรียกร้องให้มีการชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไป คุณจึงอาจจะรู้สึกกระหายบ่อยครั้งที่ไม่ได้ทานอะไร และผลพวงอีกอย่างที่ตามมาคือ ผิวแห้งกร้าน คันตามผิวหนังจากการขาดน้ำ - อาการที่ 3 : ทานจุกจิก รู้สึกบ่อย ๆ แต่น้ำหนักลด
ที่หิวบ่อย ๆ เพราะขาดพลังงาน แต่ที่น้ำหนักลดลงไม่ได้หมายความว่าระบบย่อยทำงานดี แต่มันกำลังส่งสัญญาณภาวะขาดอินซูลิน ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้ จึงทำให้ระบบร่างกายดึงพลังงานจากโปรตีนและไขมันมาใช้แทน แต่นำไปใช้แบบไม่สมดุลถูกวิธี ผลข้างเคียงจึงทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียกว่าปกติ - อาการที่ 4 : มีแผลง่ายและหายช้า
สาเหตุนี้เกี่ยวกับเลือดโดยตรง เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเวลาเกิดแผลแล้วหายช้า เพราะว่าหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้เลือดส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ช้า จึงทำให้แผลหายช้าหรือถึงขั้นไม่หายและเน่าเปื่อย
วิธีสังเกตอาการตัวเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานยังมีอีกหลายแบบ แต่นี้เป็นเพียงอาการและสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามสำหรับการใช้เครื่องตรวจเบาหวาน (เครื่องตรวจเบาหวานคือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose Meter : BGM)) สำหรับผู้ที่ป่วยอยู่แล้วสามารถใช้เครื่องน้ีเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นวันนี้เราจะแถมความรู้แบบอัดแน่นให้คนไทยได้ห่างไกลโรคเบาหวานมากที่สุด
วิธีการเลือกซื้อเครื่องตรวจเบาหวาน แบบถูกต้องและคุ้มค่าที่สุด
- ดูมาตรฐานการรับรองและซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้
การลงทุนในสุขภาพ ไม่มีคำว่าถูกว่าแพง มีแต่ความน่าเชื่อถือเท่านั้นที่เราจำเป็นต้องกัน มาตรฐานของเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด หรือเครื่องตรวจเบาหวาน อย่างน้อยต้องมีมาตรฐาน ISO 13485 คือ มาตรฐานการจัดการเครื่องแพทย์ ต้องมีมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานที่สำคัญคือ มาตรฐาน CE คือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพ - User Friendly มีคู่มือบอกชัดเจน
ของเหล่านี้ ต้องใช้งานง่ายออกแบบเผื่อผู้สูงอายุในการใช้งานด้วย เพราะกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในวัยสูงอายุมีปริมาณไม่น้อยเหมือนกัน ต้องเป็นเครื่องที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องนั่งเซตค่าให้วุ่นวาย เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้เองได้สร้างความภูมิใจในตัวเองไม่ต้องพึ่งพยาบาลส่วนตัวหรือผู้ดูแล - มีอุปกรณ์ครบจบในชุดไม่ต้องซื้อแยกเสริม
เครื่องตรวจเบาหวานต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทันทีครบชุด ทั้งแผ่นของตัวเครื่องและเข็ม ไม่ต้องเหนื่อยไปหาซื้อเพิ่มให้ลำบาก และที่สำคัญต้องใช้เลือดในการตรวจควรจะต้องใช้เลือดน้อยและผลแม่นยำ เพราะใน 1 วันผู้ป่วยต้องเจาะเลือดเพื่อวัดปริมาณน้ำตาลในเลือดหลายครั้ง หากเครื่องตรวจเบาหวานอ่านค่าได้รวดเร็วก็จะช่วยประหยัดเวลาและทำให้ผู้ป่วยอยากใช้งานมากหันมาใส่ใจการตรวจยิ่งขึ้น
หากคุณกำลังมองหาเครื่องตรวจเบาหวานให้คนที่คุณรัก หรืออย่างอื่น เช่น เตียงไฟฟ้า วีลแชร์ไฟฟ้า ลองมาที่ฟาซิแคร์ ศูนย์รวมสินค้าสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบครบครัน ราคาเหมาะสม อย่างเครื่องตรวจเบาหวานของที่นี่ก็มีหลากหลายรุ่น แถมรับประกันตลอดอายุการใช้งาน สำหรับใครที่ไม่สะดวกเดินทางมาที่โชว์รูมก็สามารถเลือกช้อปผ่านออนไลน์ตามข้อมูลที่ให้ด้านล่างนี้ได้เลย
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Website: https://fasicare.com
Telephone: 086-300-2582, 034-494-026-28
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare
E-mail: [email protected]
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop