ที่นอนป้องกันแผลกดทับ

อันตรายจากแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียงแก้ด้วยที่นอนป้องกันแผลกดทับ

ผู้ป่วยติดเตียง กับความจำเป็นที่ต้องที่นอนป้องกันแผลกดทับ

หากพูดถึงการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มันมีรายละเอียดค่อนข้างมากที่ผู้ดูแลต้องใส่ใจเป็นพิเศษมากกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่เรื่องความสะอาด อาหารการกินไปจนถึงเรื่องของสุขภาพจิตใจที่ต้องระมัดระวังอย่างดี แล้วอะไรบ้างที่เป็นข้อควรระวังสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

4 ข้อควรระวังสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  1. สภาพแวดล้อมรอบตัว
    ในทางการแพทย์หรือทางจิตวิทยามักจะได้ยินคำแนะนำเรื่อง การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเสมอ เพราะ สิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้ป่วยนั้น มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูจิตใจ ฟื้นฟูร่างกายให้หายเร็วขึ้น การที่อยู่ในห้องที่มีหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท สะอาดน่าอยู่ จะทำให้ผู้ป่วยได้พักฟื้นจริง ๆ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงขยับไปไหนมาไหนไม่ได้เหมือนคนอื่นก็อาจจะรู้น้อยใจทำให้ฟื้นตัวช้า ยิ่งถ้าห้องสกปรกเหม็นอับก็จะทำให้สุขภาพทรุดลงอย่างเห็นได้ชัดและส่งผลกระทบไปถึงเรื่องสุขภาพจิตผู้ดูแลห้ามละเลย ควรหมั่นเสริมความั่นใจให้กับผู้ป่วยติดเตียงและไม่ทำให้เขารู้สึกเป็นภาระโดยเด็ดขาด
  2. การรับประทานอาหาร
    อาหารการกินสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงเสี่ยงต่อการสำลักข้าวได้ ซึ่งถ้าหากเกิดการสำลักขึ้นในขณะกินนั้น ผลและความเสี่ยงที่ตามมาคือ อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อเนื่องจากมีเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม บางรายอาจจะเสี่ยงถึงชีวิตเลยก็ว่าได้ ดังนั้นวิธีที่ดีคือการปรับเตียงให้ผู้ป่วยได้นั่งหลังตรง นั่งรับประทานในท่าที่ถูกต้อง และที่สำคัญอาหารต้องเป็นตัวเลือกที่ย่อยง่ายให้ผู้ป่วยได้ทานง่าย เมื่อเสร็จแล้วควรให้ผู้ป่วยได้มีเวลานั่งพักได้ย่อยอาหารสักครู่ แล้วจึงค่อยปรับเตียงเอนตัวนอนตามปกติ
  3. ความสะอาด
    ผู้ป่วยติดเตียงบางรายจะมีอุปกรณ์ที่ต่อสายเพื่อจัดการระบบขับถ่าย ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัวแบบนี้ต้องเน้นความใส่ใจไปที่เรื่องของความสะอาดเป็นหลัก เพราะจะเสี่ยงเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น หรือบางครั้งการทานอาหารอาจจะมีหกกระเด็นเลอะที่นอนก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดเชื้อโรคที่จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มโอกาสโรคแทรกซ้อนหรืออาการทรุดลงได้เช่นกัน ดังนั้นจุดหลัก ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเรื่องความสะอาด คือ ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม โถขับถ่าย อุปกรณ์สายโยงขับถ่ายปัสสาวะต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ต้องดูแลเป็นพิเศษ
  4. แผลกดทับ 
    ขีดเส้นใต้พร้อมไฮไลต์ไว้เลยว่าสิ่งนี้สำคัญมาก ปัญหาหลัก ๆ ของผู้ป่วยติดเตียงคือ แผลกดทับ การที่นอนนาน ๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ ถูกกดทับ เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงบริเวณผิวหนังได้ยาก จนเกิดแผลกดทับเนื่องจากเนื้อตาย จุดบริเวณที่เกิดแผลกดทับได้ง่ายคือ ส้นเท้า ก้นกบ โซนด้านข้างสะโพก ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีแผลกดทับจะยิ่งเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นควรระวังเป็นพิเศษ

 

ทำความรู้จักแผลกดทับภัยเงียบสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

จากข้อข้างต้นคุณได้รู้จักเรื่องแผลกดทับแบบเบื้องต้นไปแล้ว ในส่วนนี้มาทำความรู้จักในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับกันบ้าง การเคลื่อนไหว เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงการที่เราจะยกหรือขยับแบบคนทั่วไปนั่นก็เป็นไปได้ยาก การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะเกิดแผลตามปุ่มกระดูกได้ง่าย วิธีป้องกัน คือ การจับคนไข้พลิกตะแคงเปลี่ยนท่านอนให้เลือดได้หมุนเวียนทั่วบริเวณผิวหนัง หรือการเลือกที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยติดเตียงก็ช่วยได้

  • การมีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวานหรือโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด
    โรคเหล่านี้ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดแผลได้ง่ายเนื่องจากการสมานตัวของผิวที่จากอันเกิดจากโรคดังกล่าว หากผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเบาหวานด้วยนั้น ดันเกิดแผลกดทับแทรกซ้อนปัจจัยเสี่ยงที่จะตามมานั้นก็ค่อนข้างนับไม่ถ้วน ดังนั้นไม่ให้เกิดแผลดีที่สุด
  • รักษาความสมดุลของผิวหนังก็สำคัญ
    การที่ผู้ป่วยติดเตียงนั่นผอมเกินไป มีผิวหนังที่บางและขาดน้ำ จะทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่าย เนื่องจากผิวแห้งและผอมจนทำให้ตามปุ่มกระดูกต่าง ๆ ไม่มีผิวหนังมาคอยซัพพอร์ตการกดทับ ฉะนั้นนอกจากความสะอาด การพลิกตัวไม่ให้เกิดแผลทับแล้ว การรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของผิวก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันเรื่องแผลกดทับได้

หากผู้ป่วยติดเตียงเริ่มมีแผลกดทับจะสังเกตได้จากอะไร

ลักษณะของแผลกดทับนั้นแบ่งออกเป็น 4 ระยะ เพื่อให้สังเกตและทำการรักษาได้ง่าย ซึ่งตามข้อมูลทางการแพทย์วินิจฉัยว่าหลัก ๆ แล้ว เกิดขึ้นจากสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของของไข้และระบบไหลเวียนเลือดและแผลกดทับอันตรายถึงขั้นทำลายเนื้อเยื่อได้

ระยะที่ 1 ผิวหนังเริ่มมีรอยแดงผิดปกติ
ระยะที่ 2 ผิวหนังที่เป็นรอยแดง เริ่มกลายเป็นแผลในระดับตื้น ไม่พุพองหรือเป็นตุ่มน้ำใส
ระยะที่ 3 ลักษณะผิวหนังเกิดความเสียหาย และแผลเป็นหลุมลึกถึงชั้นไขมัน
ระยะที่ 4 ผิวหนังเกิดความเสียหายทั้งหมด รอยแผลลึกมองเห็นถึงกระดูก

เห็นไหมว่า อันตรายจากแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงรุนแรงกว่าที่คิดแค่ไหน เพราะฉะนั้นองค์รวมทั้งหมดในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้มีแค่เรื่องของความสะอาด สภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลไปถึงอุปกรณ์ช่วยการดูแลเป็นไปได้อย่างราบรื่น ปัจจุบันก็มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างที่นอนป้องกันการเกิดแผลกดทับเข้ามาช่วย เพราะบางครั้งข้อจำกัดในเรื่องของน้ำหนักตัวในผู้ป่วยนั้นก็ยากต่อการที่จับพลิกหรือเปลี่ยนท่าได้โดยใช้แรงผู้ดูแลแค่คนเดียว

อย่างข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ที่นอนลม สามารถใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดทับได้ ซึ่งอย่างของ Fasciae เองก็มีตัวเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียงถึง 3 แบบทั้งแบบที่นอนลมรังผึ้ง หรือที่นอนลม 18 ลอน และ 22 ลอน

ตัวอย่าง ที่นอนลมรังผึ้งฟาซิแคร์ รุ่น FB-412 รับประกัน 1 ปี

  • เป็นรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตจากญี่ปุ่น ลดการรั่วของที่นอนตามตะเข็บได้อย่างดี
  • ผ่าน มาตรฐาน ISO:13485 ,SGS,FDA
  • มีการทดสอบว่าปลอดภัย และระบายความอับชื้นได้ดี
  • รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 135 กิโลกรัม

ซึ่งที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยที่หลายประเภท ไม่ว่าเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับทุกระยะก็เอาอยู่ ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างหนึ่งใช้ที่นอนลมว่าเป็นทบเสริมบนเตียงผู้ป่วย หรือเตียงไฟฟ้าก็ได้ใช้งานง่ายและพกพาสะดวกเนื่องจากใช้วิธีปั๊มเป่าลมและมั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่มาจาก Fasicare ผ่านมาตรฐานโรงงานรับรอง ISO 13485 เกรดส่งออกยุโรปและอเมริกาในราคาที่คุ้มค่า มีทั้งบริการโชว์รูมทดลองสินค้า และระบบขนส่งที่ดูแลอย่างรวดเร็ว

แล้วถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาที่นอนลม เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า วีลแชร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้บริการตามช่องทางการติดต่อด้านล่างเลย รับประการบริการด้วยประสบการณ์นานกว่า 10 ปี

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://fasicare.com
Telephone: 086-300-2582, 034-494-026-28
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare
E-mail: [email protected]
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop