เทคนิคการดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุติดเตียง

เทคนิคการดูแลผู้ป่วย และผู้สูงอายุติดเตียง

วิธีการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับ ผู้ป่วย และผู้สูงอายุติดเตียง

 

ภาวะติดเตียง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยบางรายที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมเนื่องจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากโรคประจำตัว การประสบอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดใหญ่ จนทำให้ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาเนื่องจากไม่สามารถขยับตัวหรือเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลที่คอยเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังควรมีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรถวีลแชร์ และเตียงผู้ป่วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้ดูแลในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียง ภาวะกลืนลำบาก หรือเกิดการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงจนนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้

Add lineสอบถามสินค้า Fasicare

ประเภทของผู้ป่วย

สำหรับวิธีการดูแลและการเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรถวีลแชร์ รถเข็นไฟฟ้า เตียงผู้ป่วย ธรรมดาและเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ควรเริ่มต้นจากการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย ว่าสามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยเหลือตนเองได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละประเภทนั้นต้องการอุปกรณ์ช่วยเหลือที่แตกต่างกันออกไป โดยประเภทของผู้ป่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 1-2
    ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับ 1 สามารถขยับตัวเพื่อช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น การเดิน การอาบน้ำ หรือการขับถ่ายได้ แต่ก็ต้องการการช่วยเหลือบางส่วนและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับ 2 เองนั้น ก็มีความต้องการความช่วยเหลือและการดูแลที่มากกว่าผู้ป่วยในระดับ 1 เพียงเล็กน้อย ส่งผลให้การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือตนเอง อย่างเช่นรถวีลแชร์ และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นสำคัญสำหรับการเลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้กับผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับ 1-2 ควรเลือกใช้เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีราวสไลด์หรือราวกันตก เพื่อป้องกันการพลัดตกเตียงขณะนอนหลับ และช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถยึดจับในขณะที่พยุงตัวลุกขึ้นจากเตียงเพื่อการทรงตัวได้อย่างมั่นคง และสำหรับการเลือกใช้รถวีลแชร์สำหรับผู้ป่วย ควรเลือกใช้เป็นแบบรถเข็นไฟฟ้า หรือรถเข็นผู้สูงอายุแบบที่สามารถใช้มือขยับล้อเลื่อนได้เอง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อต้องเดินทาง และช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเนื่องจากสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล
  • ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 3-4
    ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับที่ 3 และ 4 เป็นผู้ป่วยที่ต้องการการช่วยเหลือจากผู้ดูแลมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ และผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับนี้ส่วนมากมักจะมีปัญหาในเรื่องของการทรงตัว หรือปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถทรงตัวเมื่อต้องนั่งบนรถวีลแชร์ได้ กิจกรรมส่วนใหญ่ของผู้ป่วยในระดับนี้ทั้งการอาบน้ำ การป้อนอาหาร และการขับถ่าย จึงมักเกิดขึ้นบนเตียงผู้ป่วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยจึงมุ่งเน้นไปที่ความสะดวกสบายและความสามารถในการช่วยอำนวยความสะดวกของเตียงผู้ป่วยเป็นสำคัญการเลือกใช้เตียงผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงควรเลือกใช้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าประเภท 3 ไกร์ หรือ 5 ไกร์ ที่สามารถปรับยกส่วนต่าง ๆ และสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงได้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้ดูแลในการประคองหรือเคลื่อนย้ายร่างกายของผู้ป่วยเมื่อต้องรับประทานอาหาร การเช็ดตัว สระผม
  • ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 5
    ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 5 เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายของตนเองได้เลย จึงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลโดยสมบูรณ์ ส่งผลให้การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับผู้ป่วยในระดับนี้ควรมุ่งเน้นไปที่การเลือกใช้เตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับและมีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้ดูแลในการขยับพลิกตัวหรือเคลื่อนย้ายร่างกายผู้ป่วยเพื่อช่วยกระจายแรงกดทับของร่างกายโดยการเลือกใช้เตียงผู้ป่วยสำหรับผู้ติดเตียงที่ต้องการความช่วยเหลือระดับ 5 นั้น ควรเลือกใช้เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยมากกว่า 15 ชั่วโมงต่อวัน และควรเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่างที่นอนโฟมมาใช้ปูรองบนเตียงผู้ป่วย เนื่องจากที่นอนโฟมสามารถช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักของผู้ป่วยออก

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียง

  1. การเกิดแผลกดทับ
    สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่กำลังประสบกับปัญหาภาวะป่วยติดเตียง หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวจนทำให้ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วย อาจส่งผลให้เกิดปัญหาแผลกดทับเนื่องจากบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น บริเวณท้ายทอย สะบัก สะโพก และกระดูกก้นกบ ขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังจนทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นตายลง โดยการเกิดแผลกดทับในระยะแรกอาจจะเกิดเป็นรอยแดงช้ำหรืออาการผิวลอก แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะส่งผลให้แผลลึกและกว้างขึ้นไปเรื่อย ๆ จนลามไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อที่อาจส่งผลเสียรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้สำหรับการป้องกันการเกิดผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือหรือขยับพลิกตัวเองได้นั้น ผู้ดูแลควรพลิกตัวและเปลี่ยนท่านอน เช่น การนอนหงาย และนอนตะแคงให้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และระมัดระวังการนอนทับบนเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนยับ และควรทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังควรนำอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย เช่นที่นอนลมแบบลอน ที่นอนลม ที่นอนโฟม หรือหมอนรองปุ่มกระดูก มาปูรองบนเตียงผู้ป่วย

    Add lineสอบถามสินค้า Fasicare

  2. การรับประทานอาหาร
    ปัญหาที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่พบเห็นได้บ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง คือ ภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติของช่องปากและคอหอยจนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร และอาจทำให้เศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลมจนทำให้หายใจไม่ออก หรือนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบหรือปอดติดเชื้อซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรจัดท่าทางให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงในขณะรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยการปรับเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในระดับ 45 – 90 องศา และใช้หมอนในการช่วยดันหลังให้สามารถทรงตัวได้อย่างสมดุล และหลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในท่านอน ในระหว่างที่รับประทานอาหารควรหมั่นสังเกตว่าผู้ป่วยยังสามารถกลืนอาหารได้หรือไม่ โดยควรระวังไม่ให้ผู้ป่วยเงยคอไปข้างหลัง และถ้าหากผู้ป่วยมีการสำลักให้หยุดป้อนอาหารในทันที หลังจากรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยนั่งหลังตรงต่อไปอีกสักพักเพื่อรอให้อาหารย่อย
  3. ความสะอาด
    การรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลยเมื่อต้องทำการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง โดยในกรณีที่ผู้ป่วยสวมใส่แพมเพิร์ส ผู้ดูแลควรหมั่นตรวจเช็กความสะอาดและเปลี่ยนแพมเพิร์สให้กับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และสำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในร่ายกาย ผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้กับผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 – 4 สัปดาห์ และทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่นข้นหรือมีอาการปัสสาวะไม่ออก ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันทีนอกจากนี้ ยังควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถบ้วนปากเองได้ เพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก และลดความเสี่ยงจากการเกิดอาการปอดบวมหรืออักเสบจากการสำลักอาหาร โดยในผู้ป่วยที่สามารถบ้วนปากเองได้ ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อลดอาการปากแห้ง แต่สำหรับโดยผู้ที่ไม่สามารถบ้วนปากเองได้ ผู้ดูแลควรเช็ดทําความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังจากเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารให้กับผู้ป่วยทุกครั้ง และควรพาไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  4. สุขภาพจิต
    อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงคือเรื่องของสุขภาพจิตใจ เนื่องจากผู้ที่ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ มักจะประสบกับความวิตกกังวล ความเจ็บปวด ความเบื่อหนาย และความเศร้าหมอง เนื่องจากต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยตลอดทั้งวัน ผู้ดูแลจึงควรมองหากิจกรรมต่าง ๆ มาให้ผู้ป่วยได้ทำ รวมถึงการจัดห้องพักผู้ป่วยให้มีแสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามาในห้องเพื่อสร้างบรรยากาศที่สดชื่น ร่มรื่น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

สำหรับลูกค้าท่านไหนที่ต้องการคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติมในการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย เตียงคนไข้ไฟฟ้า รถวีลแชร์ รถเข็นไฟฟ้า ทาง Fasicare ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความใส่ใจ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย และรถวีลแชร์ได้ตรงตามความต้องการ และความเหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด ตลอดจนการดูแลและให้บริการหลังการขาย รับรองได้ว่าทุกท่านจะได้รับแต่สิ่งที่ดี และคุ้มค่าที่สุดแน่นอน