อุปกรณ์ช่วยเดิน

ทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละชนิด

ทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละชนิด

วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าตอนนี้สังคมไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบนี้ ทำให้ลูกหลานยุคใหม่ เริ่มมองหานวัตกรรมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับญาติผู้ใหญ่วัยสูงอายุ แต่อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ทักทุกบ้านต้องมีและขาดไม่ได้คือ อุปกรณ์ช่วยเดิน เพราะใช้ช่วยเหลือตัวเองในเวลาที่ลูกหลานไม่อยู่

ซึ่งปัจจุบันตัวอุปกรณ์ช่วยเดินถูกพัฒนาให้แตกต่างจากสมัยก่อนอย่างมาก มีตัวเลือกหลายฟังก์ชันมากกว่าไม้ค้ำที่เป็นตัวเลือกหลักในสมัยก่อน และตอนนี้หลายคนคงอยากทราบว่า อุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละชนิด มีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร และวิธีเลือกให้ตอบโจทย์แบบไหนจะดีกับผู้ใช้งานมากที่สุด

เริ่มทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละชนิด

  1. ไม้เท้า (Canes)
    ไม้เท้าถือเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินหลัก ๆ ที่มีผู้ใช้มากที่สุด และมีมานานมากที่สุด ถือเป็นนวัตกรรมรุ่นแรก ๆ นิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีการอ่อนแรงเพียงข้างเดียว ไม้เท้าสามารถช่วยรับแรงน้ำหนักตัวบางส่วนแทนขาข้างที่อ่อนแรง หรือมีอาการปวด ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหว ซึ่งประเภทของไม้เท้าก็สามารถจำแนกแยกย่อยได้อีก 3 รูปแบบคือ
    • ไม้เท้าแบบมาตรฐาน (Standard Cane)
      วัสดุหลักที่ใช้จะมีทั้งแบบไม้และอะลูมิเนียมหุ้มด้วยยางกันลื่นที่ปลายไม้ เพิ่มการยึดเกาะให้มั่นคง ไม่สามารถเลือกปรับระดับได้ วิธีการเก็บรักษา สามารถเช็ดล้างได้ตามปกติ เก็บไว้ในที่ห่างไกลความชื้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิมและเชื้อรา
    • ไม้เท้าปรับระดับ (Offset Cane)
      เป็นไม้เท้าที่ช่วย กระจายน้ำหนักได้มากกว่าไม้เท้าที่เป็นแบบมาตรฐาน เนื่องจากมีการพัฒนา จุดรับน้ำหนักอยู่ตรงกับตำแหน่งของมือตรงที่จับไม้เท้า และเหมาะสมกับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาปกติ เพียงแค่ต้องการการค้ำยันเสริมเท่านั้น
    • ไม้เท้า 4 ขา (Quad Cane)
      ไม้เท้าแบบ 4 จุดเด่นคือฐานสามารถรับน้ำหนักกว้างขึ้น และ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักพยุงตัวในการยืนได้อย่างมั่นคง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีกำลังแขนขาข้างเดียว เช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก

    ตัวอย่าง ไม้เท้า 4 ขา หัวค้อน ของแบรนด์ FASICARE ปรับระดับสูง-ต่ำได้ วัสดุโครงสร้างผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอย ทนทาน แข็งแรง ไม่ก่อให้เกิดสนิม ที่สำคัญพกพาง่าย จัดเก็บสะดวก เนื่องจากน้ำหนักเบาแค่ 0.51 กิโลกรัม และในปัจจุบันไม้เท้า 3-4 ขา ค่อนข้างเป็นที่นิยมมาก มีการปรับฟังก์ชันให้เข้ากับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้นเช่น สามารถแปลงเป็นเก้าอี้ได้ด้วย หรือการเพิ่มฟังก์ชันไฟฉายที่ด้ามจับก็เป็นประโยชน์เช่นกัน

  2. โครงเหล็กช่วยเดิน (Walker Frame)
    Walker Frame เหมาะกับคนไหนบ้าง
    ผู้สูงอายุที่มีความคล่องตัวในการทรงตัวและการเดินที่ลดลง ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการทรงตัวและการก้าวเดิน
    ผู้ใช้งานที่อยู่ในระหว่างการทำกายภาพบำบัด ที่ต้องฝึกการก้าวเท้าเดิน ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย

    โครงสร้างผลิตจากอะลูมิเนียมแบบท่อน้ำหนักเบา ที่จับและขาทั้ง 4 ขาหุ้มด้วยยางกันลื่น โครงเหล็กช่วยเดินแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

    โครงเหล็กช่วยเดินแบบมาตรฐาน (Standard Walker)
    เป็นรุ่นที่นิยมกันมาก เพราะสามารถปรับเปลี่ยนความสูงให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ ปรับให้เหมาะสม โดยวัดจากท่ายืนหลังตรง ข้อศอกของผู้ใช้จะต้องอยู่ในท่างอ ประมาณ 15-30 องศา

    โครงเหล็กช่วยเดินแบบมีล้อ (Wheeled Walker or Roller Walker)
    แตกต่างจากโครงเหล็กช่วยเดินแบบมาตรฐาน เพราะมีล้อ สามารถช่วยเดินได้เร็วขึ้น โครงเหล็กช่วยเดินแบบมีล้อเหมาะสำหรับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาค่อนข้างดี

  1. ไม้ค้ำยัน (Crutches)
    เราอาจจะเห็นการใช้ไม้ค้ำยันผ่านสัญลักษณ์ของผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ขา แต่คุณทราบไหมว่า ไม้ค้ำยันเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงขณะยืนและเดิน ที่สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้มากถึงร้อยละ 80 ของน้ำหนักตัว เหมาะสำหรับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไหล่และแขนทั้ง 2 ข้าง อุปกรณ์ชนิดนี้อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการล้มถึงแม้จะเสริมด้วยยางกันลื้น เพราะต้องใช้แรงพิเศษ และไม้ค้ำยันยังแบ่งออกได้อีก 2 รูปแบบ คือ
    • ไม้ค้ำยันรักแร้ (Axillary Crutches)
      เป็นไม้ค้ำยันมาตรฐานที่ใช้โดยทั่วไป ทำจากไม้หรืออะลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา ราคาไม่สูงมาก สามารถปรับความสูงให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้ สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ตามปกติ
    • ไม้ค้ำยันแขนท่อนล่าง (Forearm Crutches)
      เป็นไม้ค้ำยันที่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ง่าย สะดวกและคล่องตัวกว่าไม้ค้ำยันรักแร้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถช่วยเหลือตัวเองในด้านอื่น ๆ ได้ เช่น การหยิบเอื้อมหยิบของ

วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมกับการใช้งาน

  1. วัสดุและน้ำหนัก วัสดุที่ใช้ผลิตอุปกรณ์ช่วยเดินมีผลต่อน้ำหนักในการใช้งานมาก ๆ เป็นอันดับแรก หากเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้วัสดุมีน้ำหนักมาก ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยอาจจะเคลื่อนยก ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและอาจจะสร้างการบาดเจ็บเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้อีกด้วย ส่วนมากจะเลือกอกวัสดุที่ผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์จะมีน้ำหนักเบากว่า เคลื่อนที่ได้สะดวกกว่า แต่หากน้ำหนักเบาจนเกินไปก็ อาจจะทำให้ผู้ใช้งานเสียการทรง ตัวได้ง่ายไม่มันคงในการช่วยเดิน ซึ่งก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน
  2. ด้ามจับและปลายไม้เท้า ให้เลือกด้ามจับที่มันคงถนัดมือ หรือออกแบบตามสรีรศาสตร์เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ลื่นหลุด และให้สังเกตที่ปลายไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ว่า มีการเสริมยางกันเลื่อนหรือไม่ เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการยึดเกาะ
  3. ระดับความสูงของอุปกรณ์ช่วยเดิน ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยเดิน คือความสูง หากสูงเกินไปหรือต่ำจนเกินไป จะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ใช้งาน นอกจากจะไม่ใช่ในการทรงตัวแล้วยังสร้างผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
  4. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ช่วยเดิน ฟาซิแคร์ ศูนย์รวมเรื่องอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ และอุปกรณ์การแพทย์ที่ครบครัน มีใบอนุญาตนำเข้าและประสบการณ์นานกว่า 10 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบการบริการของเรา สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทุกท่าน

ด้วยความสะดวกสบายในการเข้าถึงช่องทางการซื้อที่หลากหลายตลอด 24 ชั่วโมง บริการชำระเงินปลายทาง บริการคืนสินค้าฟรีในกรณีสินค้ามีปัญหาที่สำคัญ และพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยซัพพอร์ตให้ข้อมูลดูแลทั้งก่อนและหลังการขาย และถ้าตอนนี้ถ้าคุณอยากได้อุปกรณ์ช่วยเดินให้ญาติผู้ใหญ่สักหนึ่งอย่างสามารถปรึกษา ฟาซิแคร์ เพื่อให้คุณได้สินค้าที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ตามความต้องการอย่างครบครัน

https://fasicare.com
โทร : 0-2019-1388 (ต่อ 10 , 11)
สายด่วน : 086-300-2582, 096-935-7475
Line ID : @fasicare
Facebook: https://www.facebook.com/fasicare
E-mail: [email protected]
Instagram : https://www.instagram.com/fasicare
Youtube : https://www.youtube.com/fasicareshop